fbpx

สอนลูกไม่ให้เป็นเด็กแสบ ดื้อ ซน ก้าวร้าว

Chilld3

มีคำกล่าวที่ว่า “Action speak lounger than words พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก เพราะการเห็นแบบอย่างที่ดี
จะทำให้ลูกสามารถจดจำการทำดีได้มากกว่าการใช้เพียงคำพูด” ฉะนั้นมาสอนลูกให้เป็นเด็กจิตใจดี โตไปจะได้ไม่ก้าวร้าว

1. สอนให้ลูกช่วยเหลือตนเอง
การที่ลูกสามารถช่วยเหลือตนเองได้ จะลดการพึ่งพาคนอื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ทำให้ลูกเกิดความมั่นใจในตัวเอง ลดความกังวล และพร้อมที่จะ
เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ดี

2. สอนลูกให้ช่วยงานบ้าน
เริ่มได้ตั้งแต่ลูก 2 ขวบเลย ฝึกลูกให้ช่วยงานบ้านขั้นพื้นฐาน เช่น เก็บของเล่นหลังเล่นเสร็จแล้ว นำเสื้อผ้าที่สวมแล้วไปใส่ตะกร้า นับเป็นจุดเริ่มต้น
ของการเอาใจเขาใส่ใจเรา

3. ฝึกระเบียบวินัย
เพื่อให้ลูกหัดควบคุมตนเองและยับยั้งชั่งใจต่อสิ่งยั่วยุต่างๆ สามารถทำได้ตั้งแต่ 3 ขวบ เช่น การตื่นนอนและเข้านอนให้เป็นเวลา รับประทานอาหาร
เป็นเวลา

4. พาลูกออกไปพบผู้คนที่หลากหลาย
ทำให้ลูกเห็นว่าในโลกนี้มีคนที่แตกต่าง ทั้งสีผิว เชื้อชาติ ภาษา และความคิด ซึ่งสิ่งที่แตกต่างเหล่านี้ไม่ได้แปลว่าผิดเสมอไป พร้อมสอนให้ลูกมีน้ำใจ
และเข้าใจคนที่แตกต่างจากตัวเอง

5. สอนเรื่องอารมณ์ต่างๆ
เมื่อลูกแสดงอารมณ์ออกมา เช่น เมื่อร้องไห้ที่ไม่ได้ของเล่น อาจบอกลูกว่า แม่รู้ว่าลูกกำลังเสียใจที่ไม่ได้ของเล่น หรือเมื่อลูกโกรธเมื่อถูกแย่งขนม
ต้องบอกว่าลูกกำลังโกรธใช่ไหม แต่แม่อยากให้ลูกหายใจลึกๆ ใจเย็นๆ การสอนเช่นนี้จะช่วยทำให้ลูกเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ของตนเมื่อโตขึ้น
และไม่นำอารมณ์ของตนเองมาเป็นข้ออ้างในการทำร้ายคนอื่น

6. สร้างแรงบันดาลใจด้วยเรื่องเล่า
สำหรับเด็กเล็กโลกของเขายังไม่กว้างใหญ่มากนัก การเล่านิทานให้เขาฟังจะช่วยทำให้เขาเข้าใจการช่วยเหลือกันในสังคมได้ดีขึ้น และยังทำให้ลูกได้
ฝึกคิดสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำด้วยตนเอง โดยมีพ่อแม่เป็นผู้ชี้นำแนวทางที่เหมาะสมให้

7. สอนลูกให้รู้จักแก้ปัญหา
บ่อยครั้งที่ลูกทำผิดพลาด พ่อแม่ควรให้อภัยลูก แล้วชวนลูกแก้ไข้ปัญหาหลังจากที่เกิดข้อผิดพลาด เช่น ลูกวิ่งแล้วทำน้ำหก พ่อแม่ควรฝึกให้ลูก
รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ คือ เช็ดน้ำและเก็บแก้วให้เป็นที่ หลังจากนั้นชวนให้ลูกคิดว่าครั้งหน้าสามารถระวังอย่างไรให้ไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก เป็นต้น

 

ข้อมูลจาก : พญ. ถิรพร ตั้งจิตพร จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และ http://www.rakluke.com

TAGS

คลังความรู้

เพศสัมพันธ์เป็นเรื่องธรรมชาติ การจะห้ามแต่ละชีวิตมิให้ข้องเกี่ยวกับเรื่อง “เพศ” จึงเป็นเรื่องยาก บทบาทของผู้คนที่รายล้อมชีวิตของเด็ก
TELEMEDICINE (เทเลเมดิซีน เรียกเป็นภาษาไทยว่า โทรเวชกรรม) คือ การนําเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยกันได้ เช่นเดียว กับการสื่อสารผ่า…