fbpx
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

พม.และ สวท ผนึกกำลังรณรงค์วางแผนครอบครัวพัฒนาประชากรทุกช่วงวัย

PPAT Seminar017

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และ สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สวท) จัดงานเสวนาวิชาการเรื่อง “การวางแผนครอบครัวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรทุกช่วงวัย” รณรงค์ให้ประชากรทุกช่วงวัยตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนครอบครัวอันจะนำไปสู่การมีชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์มีคุณภาพ ตั้งเป้าช่วยส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพ โดยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานเปิดการเสวนา พร้อมมอบโล่ประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์และอาสาสมัครดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2566 และ รศ.ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย นายกสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ กล่าวรายงาน โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคมทั้งจากในและต่างประเทศเข้าร่วมงาน อาทิ ผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวง พม.  IPPF ESEAOR   APA   UNFPAประจำประเทศไทย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  มูลนิธิรักษ์ไทย มูลนิธิเอดส์ เฮลท์ แคร์ (AHF) ประเทศไทย มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING)  สมาคมพัฒนาประชากร  สมาคมพัฒนาอนามัยแห่งประเทศไทย สมาคมแนวร่วมธุรกิจไทยต้านภัยเอดส์ สมาคมประสานงานองค์กรเอกชนเพื่อการสาธารณสุข (ประเทศไทย) ณ ห้องประชุมประชาบดี ชั้น 19A กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ในปัจจุบันประเทศไทยเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลายมิติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางประชากรเป็นมิติหนึ่งที่มีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ ประชากรไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง อัตราการเกิดอยู่ในระดับต่ำมากจนจำนวนประชากรในวัยเด็กและวัยทำงานลดลงมาก ทั้งนี้ กระทรวง พม. มีพันธกิจในการเสริมสร้างศักยภาพคนและสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อ “ครอบครัวไทย” คือ ครอบครัวไทยซึ่งเป็นหลักในการสร้างและพัฒนาคนกำลังเลือนหาย ครัวเรือนที่อยู่คนเดียวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 16.4 ในปี 2558 เป็นร้อยละ 21.4 ในปี 2565 ยิ่งไปกว่านั้นเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของเด็กไทย (อายุ 0 – 17 ปี) อยู่ในครอบครัวที่พร้อมหน้าทั้งพ่อและแม่ ส่วนที่เหลือไม่ได้อยู่กับทั้งพ่อและแม่ หรืออยู่กับครอบครัวที่มีลักษณะเป็นแม่หรือพ่อเลี้ยงเดี่ยว นอกจากนี้ ครัวเรือนที่ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังคนเดียวหรืออยู่กับคู่สมรสตามลำพังเพิ่มขึ้น เป็น 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุทั้งหมด และการอยู่กับบุตรซึ่งเคยเป็นรูปแบบการอยู่อาศัยหลักลดลงเหลือเพียงประมาณ ร้อยละ 50 สะท้อนให้เห็นว่าผู้สูงอายุรุ่นหลังมีลูกน้อยลง เป็นโสดหรือหย่าร้างเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีลูกแต่ต้องไปทำงานต่างถิ่น

นายวราวุธ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ กระทรวง พม. ได้ตระหนักถึงวิกฤตการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว และได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายวิกฤตประชากร หรือ “นโยบาย 5×5 ฝ่าวิกฤตประชากร” จากการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ เมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วย 5 ข้อเสนอ ได้แก่ 1) เสริมพลังวัยทำงาน 2) เพิ่มคุณภาพและผลิตภาพของเด็กและเยาวชน 3) สร้างพลังผู้สูงอายุ 4) เพิ่มโอกาสและสร้างเสริมคุณค่าของคนพิการ และ 5) สร้างระบบนิเวศ (Eco-system) ที่เหมาะสม และแต่ละข้อเสนอประกอบด้วย 5 มาตรการสำคัญเร่งด่วน รวมทั้งสิ้น 25 มาตรการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 รับทราบข้อเสนอเชิงนโยบายวิกฤตประชากรและสังคมสูงวัย ตามที่กระทรวง พม. เสนอ พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนเชิงนโยบายต่อไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ไปสู่การดำเนินงานแบบองค์รวมเพื่อให้ทุกองคาพยพในสังคมมีส่วนร่วม และตระหนักถึงปัญหาวิกฤตประชากรร่วมกัน ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ การจัดงานในวันนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมกันในฐานะหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกระทรวง พม. และสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ในการแก้ไขวิกฤตประชากรของประเทศไทยตั้งแต่ในระดับครอบครัว ที่จะนำมาสู่ความยั่งยืนของสังคม ชุมชน และประเทศชาติต่อไป

ด้าน รศ.ดร.ฤาเดช เกิดวิชัย นายกสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย  ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กล่าวว่า  การทำงานของสมาคมฯ ตลอดระยะเวลากว่า 54 ปี ได้มีการปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมอยู่ตลอดเวลา การวางแผนครอบครัวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรทุกช่วงวัย ยังคงมีความสำคัญในทุกยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นการเกิดมากในอดีต หรือเกิดน้อยในยุคปัจจุบัน สมาคมฯ ซึ่งถือเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตมีเป้าหมายสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการทำงานของภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในมิติด้านสิทธิทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะการวางแผนครอบครัว ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของประชากรไทย  โดยการจัดงานในวันนี้จะช่วยให้ได้องค์ความรู้ในเรื่อง การวางแผนครอบครัวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรทุกช่วงวัย เพื่อใช้ในการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และใช้ขับเคลื่อนงานสมาคมฯ ในระดับพื้นที่

“การร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในวันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนางานด้านประชากรร่วมกันในอนาคต ซึ่ง พม. มีการทำงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรทั้งเชิงรับและรุกอย่างเข้มแข็ง สมาคมฯ มีนโยบายที่สำคัญในการส่งเสริมให้ทุกการเกิดเป็นการเกิดที่มีคุณภาพและเติบโตเป็นประชากรที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องอาศัยกลไกขับเคลื่อนของภาครัฐและภาคีเครือข่ายเป็นส่วนหนุนเสริมทำงานร่วมกัน การทำงานจึงจะสำเร็จตามเป้าหมาย”นายกสมาคมฯกล่าว

สำหรับการจัดกิจกรรมงานเสวนาวิชาการเรื่อง “การวางแผนครอบครัวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรทุกช่วงวัยในวันนี้ ซึ่งเกิดจากการความร่วมมือของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ได้รับความร่วมมือที่ดีจากผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพประชากร ร่วมเสวนา ประกอบด้วย

1. นายอนุกูล  ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

2. ดร.นายแพทย์บุญฤทธิ์ สุขรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข  

3. ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน นักวิชาการอิสระ อดีตคณาจารย์ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

4. ศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ  คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางการทำงานที่ประสบความสำเร็จ จากหน่วยงานภายในของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมแลกเปลี่ยน

ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ ของสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ประจำปี พ.ศ.2566

1.แพทย์หญิงนันทา อ่วมกุล  วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.ศ.กิตติคุณ นพ.สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล นายกสภาสถาบันพระบรมราชชนก

3. ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล ปรึกษาอาวุโส สถาบันวิจัยประชากรและสังคม  มหาวิทยาลัยมหิดล

อาสาสมัครดีเด่นประจำปี 2566 สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ  จำนวน 5 ท่าน

1.นายกิรกฤษ  เยี่ยมจะบก  อาสาสมัครดีเด่น ด้านการสื่อสารเผยแพร่สิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ 

 2.นางเจะเซาดะห์  นามสกุล  บาราเฮ็ง อาสาสมัครดีเด่น ด้านการส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์สำหรับทุกเพศทุกวัย

3.นางนิติรัตน์  พูลสวัสดิ์ อาสาสมัครดีเด่นด้านการส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของผู้ทำการ

4. นางสาวพวงวรินทร์   แก้วคำมูล  อาสาสมัครดีเด่น ด้านการส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์อย่างเท่าเทียมโดยเฉพาะผู้อยู่ในพื้นที่ห่างไกล

5.นางโสภิษตา  ตันธนาธิป   อาสาสมัครดีเด่น ด้านการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์

TAGS

ข่าวสารและกิจกรรม

เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา สวท กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการฝึกอบรมทั…
เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ( 24 ก.พ.) สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด จัดกิจกรรมอบรมแกนนำเยาวชนในหัวข้อ “รู้จริงมั้ยอนามัยการเจริญ…

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า