fbpx
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

ยาฝังคุมกำเนิดดีอย่างไร

nexplanon-1

ยาฝังคุมกำเนิด (Contraceptive Implant) เป็นการใช้ฮอร์โมนชนิดเดียว คือ โปรเจสติน (Progestin) ที่บรรจุเอาไว้ในหลอดหรือแท่งพลาสติกเล็กๆ ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ขนาดเท่าไม้จิ้มฟันชนิดกลม นำมาฝังเข้าไปที่ใต้ผิวหนังบริเวณใต้ท้องแขนด้านในที่ไม่ถนัด ใช้เวลาในการฝังยาประมาณ 10-15 นาที ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะค่อยๆ ซึมผ่านออกมาจากแท่งยาเข้าสู่ร่างกาย และไปยับยั้งการเจริญเติบโตของฟองไข่ ส่งผลทำให้ไม่มีการตกไข่ตามมา จึงช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้นานถึง 3-5 ปี

ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด

1.ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงมาก ประมาณ 1/200 คน ที่เกิดอัตราล้มเหลว

2.เป็นวิธีที่มีความสะดวก ฝังครั้งเดียวสามารถคุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี

3. มีอาการข้างเคียงน้อย

4.สามารถเลิกใช้เมื่อใดก็ได้ เมื่อต้องการจะมีบุตรหรือเปลี่ยนเป็นใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น

5. หลังจากถอดออกจะสามารถมีลูกได้เร็วกว่าการฉีดยาคุมกำเนิด 90% ตกไข่ใน 1 เดือน

6. ยาฝังคุมกำเนิดยังช่วยลดอาการปวดประจำเดือน ลดภาวะประจำเดือนมามาก

ผู้ที่เหมาะจะใช้ยาฝังคุมกำเนิด

  1. ผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและคุมกำเนิดได้ในระยะยาว
  2. ผู้ที่ต้องการเว้นช่วงการมีบุตรอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
  3. ผู้ที่มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน

ผู้ที่ไม่ควรใช้ยาฝังคุมกำเนิด

1.ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือ สงสัยว่าตั้งครรภ์

2.ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือด หรือ กำลังได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด

3.ผู้ที่มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนโปรเจสโตเจน

4.ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหรือตามอวัยวะเพศต่างๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ

5.ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของตับ หรือ กำลังเป็นโรคตับอักเสบ

ผลข้างเคียงของยาฝังคุมกำเนิด

เมื่อฝังยาฝังคุมกำเนิดอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรืออาจมีอาการระคายเคือง ปวด บวมแดงบริเวณผิวหนังที่ฝังยาเข้าไป แต่อาการจะเป็นแค่ระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น นอกจากนี้อาจมีน้ำหนักตัวขึ้น สิวขึ้น ปวดศีรษะ เจ็บเต้านม และอารมณ์แปรปรวนหลังฝังยาคุมกำเนิดในบางราย

ข้อปฏิบัติหลังฝังยาคุม

1.ควรมาพบแพทย์ตามนัด 7 วัน เพื่อดูแผลที่ฝังยา และต่อไปปีละครั้งเพื่อติดตามผล

2.เมื่อครบกำหนด 3 ปี หรือ 5 ปี ต้องกลับมาโรงพยาบาลเพื่อเอายาหลอดเก่าออก และใส่หลอดใหม่เข้าไป

การคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ต้องทำโดยแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ห้ามพยายามกระทำ หรือนำออกด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาได้

ข้อมูลจาก หนังสือ การวางแผนครอบครัว และเทคโนโลยีการคุมกำเนิด ศ.นพ.สุรศักดิ์  ฐานีพานิชสกุล

TAGS

คลังความรู้

คำตอบ เมื่อไหร่ที่เริ่มมีประจำเดือน มีเพศสัมพันธ์ ต้องการคุมกำเนิดสามารถฝังยาคุมกำเนิดได้เลย และในปัจจุบันการฝังยาคุมกำเนิดในประเทศไทยมี 2 แบบ คือ แบบ 1 หล…
อาการ PMSหรืออาการก่อนมีประจำเดือนเป็นสิ่งที่ทรมานผู้หญิงทุกคนเป็นปกติ ซึ่งโดยปกติแล้วเราเองจะรู้สึกได้ถึงอาการปวดประจำเดือนที่เป็นอยู่ว่ามาก-น้อย ขนาดไหน ทว่าใ…

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า