fbpx
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

อินโฟกราฟิกส์

Modal Title

PrEPกับPEPไม่เหมือนกันยังไง

PrEP&PEP ไม่เหมือนกันยังไง ต้องไปดู!
.
ยาทั้ง 2 อย่างนี้นอกจากใช้ต่างวัตถุประสงค์ แล้วยังมีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันดังนี้
เพร็พ (PrEP) ย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis คือยาที่ใช้ในการป้องกันเชื้อเอชไอวี
เป็ป (PEP) ย่อมาจาก Post-Exposure Prophylaxis เป็นยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี
.
กินเพื่อ
เพร็พ (PrEP) ป้องกัน
เป็ป (PEP) ต้านเชื้อ
.
เริ่มกินเมื่อไหร่
เพร็พ (PrEP) ก่อนสัมผัสเชื้อ ควรกินก่อนสัมผัสเชื้อ 7 วัน
เป็ป (PEP) หลังสัมผัสเชื้อ ต้องกินภายใน 72 ชั่วโมง หลังสัมผัสเชื้อ
.
หยุดยาได้เมื่อไหร่
*ก่อนหยุดยาต้องพบแพทย์ทุกครั้ง*
เพร็พ (PrEP) เมื่อพบว่าตัวเองไม่อยู่ในความเสี่ยงเเล้ว*
เป็ป (PEP) กินให้ครบ 28 วัน*
.
ใครควรกินบ้าง
เพร็พ (PrEP) มีพฤติกรรมเสี่ยงจะติดเชื้อ (เปลี่ยนคู่นอนบ่อย/ชายรักชาย /คู่นอนมีเชื้อเอชไอวี/ผู้ให้บริการทางเพศ ฯลฯ)
เป็ป (PEP) คนที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ (ถุงยางอนามัยแตก/มีเพศสัมพันธ์ขณะไม่มีสติ /มีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ ฯลฯ)
.
ยาทั้ง 2 อย่างนี้ไม่ได้ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆได้ ทางที่ดีควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยในการมีเพศสัมพันธ์
.
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ขอสนับสนุนความเท่าเทียม ทั้งด้านบริการการรักษา กฎหมาย การเข้าถึงเทคโนโลยี และการอยู่ร่วมกันในสังคม
.
PrEPกับPEPไม่เหมือนกันยังไง
อินโฟกราฟิกส์
Modal Title

PrEPกับPEPไม่เหมือนกันยังไง

PrEP&PEP ไม่เหมือนกันยังไง ต้องไปดู!
.
ยาทั้ง 2 อย่างนี้นอกจากใช้ต่างวัตถุประสงค์ แล้วยังมีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันดังนี้
เพร็พ (PrEP) ย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis คือยาที่ใช้ในการป้องกันเชื้อเอชไอวี
เป็ป (PEP) ย่อมาจาก Post-Exposure Prophylaxis เป็นยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี
.
กินเพื่อ
เพร็พ (PrEP) ป้องกัน
เป็ป (PEP) ต้านเชื้อ
.
เริ่มกินเมื่อไหร่
เพร็พ (PrEP) ก่อนสัมผัสเชื้อ ควรกินก่อนสัมผัสเชื้อ 7 วัน
เป็ป (PEP) หลังสัมผัสเชื้อ ต้องกินภายใน 72 ชั่วโมง หลังสัมผัสเชื้อ
.
หยุดยาได้เมื่อไหร่
*ก่อนหยุดยาต้องพบแพทย์ทุกครั้ง*
เพร็พ (PrEP) เมื่อพบว่าตัวเองไม่อยู่ในความเสี่ยงเเล้ว*
เป็ป (PEP) กินให้ครบ 28 วัน*
.
ใครควรกินบ้าง
เพร็พ (PrEP) มีพฤติกรรมเสี่ยงจะติดเชื้อ (เปลี่ยนคู่นอนบ่อย/ชายรักชาย /คู่นอนมีเชื้อเอชไอวี/ผู้ให้บริการทางเพศ ฯลฯ)
เป็ป (PEP) คนที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ (ถุงยางอนามัยแตก/มีเพศสัมพันธ์ขณะไม่มีสติ /มีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ ฯลฯ)
.
ยาทั้ง 2 อย่างนี้ไม่ได้ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆได้ ทางที่ดีควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยในการมีเพศสัมพันธ์
.
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ขอสนับสนุนความเท่าเทียม ทั้งด้านบริการการรักษา กฎหมาย การเข้าถึงเทคโนโลยี และการอยู่ร่วมกันในสังคม
.
PrEPกับPEPไม่เหมือนกันยังไง
Modal Title

6 ข้อ ของมันต้องมี “ถุงยางอนามัย”

6 ข้อ ของมันต้องมี “ถุงยางอนามัย” ✅
.
1. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เอชไอวี หนองใน ซิฟิลิส
2. การใช้ถุงยางอนามัยเท่ากับความใส่ใจไม่ใช่เรื่องน่ารังเกียจ สนุกไปพร้อมกับความใส่ใจ ปลอดภัยด้วยกันทั้งคู่
3. ปลอดภัยไว้ก่อน ต่อให้เป็นแฟน หากไม่เคยมีการตรวจหาโรคควรป้องกันไว้ก่อน
4. ถุงยางอนามัยมีลูกเล่นมากมาย ทั้งรูปลักษณ์และพื้นผิว ช่วยสร้างความสนุกทางเพศไม่น่าเบื่อ
5. เลือกใช้ถุงยางที่ผ่านมาตรฐาน อย. เพื่อรับประกันความปลอดภัย
6. ยืดอกพกถุง คนที่พกถุงยางอนามัย คือคนที่รอบคอบในการใช้ชีวิต ไม่ใช่เรื่องน่าอาย เพราะการมีเพศสัมพันธ์ อาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่ทันตั้งตัว ควรเตรียมความพร้อมเสมอ
.
วิธีการใส่ถุงยางอนามัยให้ถูกวิธี
.
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ขอสนับสนุนความเท่าเทียม ทั้งด้านบริการการรักษา กฎหมาย การเข้าถึงเทคโนโลยี และการอยู่ร่วมกันในสังคม
.
6 ข้อ ของมันต้องมี “ถุงยางอนามัย”
อินโฟกราฟิกส์
Modal Title

6 ข้อ ของมันต้องมี “ถุงยางอนามัย”

6 ข้อ ของมันต้องมี “ถุงยางอนามัย” ✅
.
1. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เอชไอวี หนองใน ซิฟิลิส
2. การใช้ถุงยางอนามัยเท่ากับความใส่ใจไม่ใช่เรื่องน่ารังเกียจ สนุกไปพร้อมกับความใส่ใจ ปลอดภัยด้วยกันทั้งคู่
3. ปลอดภัยไว้ก่อน ต่อให้เป็นแฟน หากไม่เคยมีการตรวจหาโรคควรป้องกันไว้ก่อน
4. ถุงยางอนามัยมีลูกเล่นมากมาย ทั้งรูปลักษณ์และพื้นผิว ช่วยสร้างความสนุกทางเพศไม่น่าเบื่อ
5. เลือกใช้ถุงยางที่ผ่านมาตรฐาน อย. เพื่อรับประกันความปลอดภัย
6. ยืดอกพกถุง คนที่พกถุงยางอนามัย คือคนที่รอบคอบในการใช้ชีวิต ไม่ใช่เรื่องน่าอาย เพราะการมีเพศสัมพันธ์ อาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่ทันตั้งตัว ควรเตรียมความพร้อมเสมอ
.
วิธีการใส่ถุงยางอนามัยให้ถูกวิธี
.
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ขอสนับสนุนความเท่าเทียม ทั้งด้านบริการการรักษา กฎหมาย การเข้าถึงเทคโนโลยี และการอยู่ร่วมกันในสังคม
.
6 ข้อ ของมันต้องมี “ถุงยางอนามัย”
Modal Title

HIVกับAIDSต่างกันอย่างไร?

HIV🦠 คือ เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย เมื่อเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะยึดจับและทำลายเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 เป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หากไม่รับการรักษา ระดับ CD4 ลดต่ำลงเรื่อยๆ จะทำให้ป่วยเป็นเอดส์ได้
.
AIDS🩸 คือ คนที่ติดเชื้อ HIV ที่มีระดับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ต่ำกว่า 200 ระบบภูมิคุ้มกันและเม็ดเลือดขาวถูกทำลายจนไม่สามารถต้านทานโรค ได้ หรือเรียกว่า “ภูมิคุ้มกันบกพร่อง” ร่างกายจึงมีโอกาสติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย
.
ระยะแรก ร่างกายอยู่ในภาวะเริ่มติดเชื้อ ไม่ค่อยแสดงอาการมาก
ระยะที่ 2 มีตุ่มขึ้นตามร่างกาย มีเชื้อราในปาก เป็นงูสวัด
ระยะที่ 3 เป็นโรคเอดส์ มีการติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น เชื้อราขึ้นสมอง วัณโรค
ระยะที่ 1 และ 2 ของการติดเชื้อ HIV ยังไม่ถือเป็นโรคเอดส์ ส่วนระยะที่ 3 ของการติดเชื้อ HIV เรียกว่าเป็นโรคเอดส์
.
❌ กอด การสัมผัส
❌ รับประทานอาหารร่วมกัน
❌ ไอ หรือจาม
❌ แมลง หรือยุงกัด
❌การว่ายน้ำในสระว่ายน้ำ
.
เชื้อ HIV ติดต่อได้ 3 ช่องทาง คือ ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ทางเลือด และจากแม่สู่ทารกในครรภ์ ผู้ป่วยเอชไอวี สามารถมีเพศสัมพันธ์และสร้างครอบครัวได้ แต่ต้องมีการป้องกัน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อและการรับเชื้ออื่นๆ ที่แฝงมาด้วย
.
หากรู้ตัวว่ามีเชื้อ HIV ให้รีบเข้ารับการรักษา และรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เพราะ HIV สามารถรักษาและห่างไกลจากโรคเอดส์ได้ ผู้ป่วยสามารถมีอายุยืนยาวเหมือนคนปกติทั่วไป
.
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ขอสนับสนุนความเท่าเทียม ทั้งด้านบริการการรักษา กฎหมาย การเข้าถึงเทคโนโลยี และการอยู่ร่วมกันในสังคม
.
HIVกับAIDSต่างกันอย่างไร?
อินโฟกราฟิกส์
Modal Title

HIVกับAIDSต่างกันอย่างไร?

HIV🦠 คือ เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย เมื่อเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะยึดจับและทำลายเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 เป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หากไม่รับการรักษา ระดับ CD4 ลดต่ำลงเรื่อยๆ จะทำให้ป่วยเป็นเอดส์ได้
.
AIDS🩸 คือ คนที่ติดเชื้อ HIV ที่มีระดับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ต่ำกว่า 200 ระบบภูมิคุ้มกันและเม็ดเลือดขาวถูกทำลายจนไม่สามารถต้านทานโรค ได้ หรือเรียกว่า “ภูมิคุ้มกันบกพร่อง” ร่างกายจึงมีโอกาสติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย
.
ระยะแรก ร่างกายอยู่ในภาวะเริ่มติดเชื้อ ไม่ค่อยแสดงอาการมาก
ระยะที่ 2 มีตุ่มขึ้นตามร่างกาย มีเชื้อราในปาก เป็นงูสวัด
ระยะที่ 3 เป็นโรคเอดส์ มีการติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น เชื้อราขึ้นสมอง วัณโรค
ระยะที่ 1 และ 2 ของการติดเชื้อ HIV ยังไม่ถือเป็นโรคเอดส์ ส่วนระยะที่ 3 ของการติดเชื้อ HIV เรียกว่าเป็นโรคเอดส์
.
❌ กอด การสัมผัส
❌ รับประทานอาหารร่วมกัน
❌ ไอ หรือจาม
❌ แมลง หรือยุงกัด
❌การว่ายน้ำในสระว่ายน้ำ
.
เชื้อ HIV ติดต่อได้ 3 ช่องทาง คือ ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ทางเลือด และจากแม่สู่ทารกในครรภ์ ผู้ป่วยเอชไอวี สามารถมีเพศสัมพันธ์และสร้างครอบครัวได้ แต่ต้องมีการป้องกัน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อและการรับเชื้ออื่นๆ ที่แฝงมาด้วย
.
หากรู้ตัวว่ามีเชื้อ HIV ให้รีบเข้ารับการรักษา และรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เพราะ HIV สามารถรักษาและห่างไกลจากโรคเอดส์ได้ ผู้ป่วยสามารถมีอายุยืนยาวเหมือนคนปกติทั่วไป
.
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ขอสนับสนุนความเท่าเทียม ทั้งด้านบริการการรักษา กฎหมาย การเข้าถึงเทคโนโลยี และการอยู่ร่วมกันในสังคม
.
HIVกับAIDSต่างกันอย่างไร?
Modal Title

5 วิธี ลดความรุนแรงในครอบครัว

24
1. สร้างความรักความผูกพัน ชื่นชม พูดคุย ทำกิจกรรม ร่วมกัน
2. จัดการความเครียด ออกกำลัง กาย นั่งสมาธิ
3. สื่อสารสร้างสรรค์ รู้จักประนี ประนอม เลี่ยงการโต้เถียง ไม่กดดัน
4. ไม่ใช้ความรุนแรง แก้ปัญหา แบบมีเหตุมีผล ใจเย็นและ รับฟัง
5. เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกเพราะลูกเลียนแบบพ่อแม่
6. มีเวลาให้ครอบครัว ดูแล เอาใจใส่ มอบความรักไม่ให้ ขาดความอบอุ่น
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ขอร่วมสนับสนุนรณรงค์ยุติความรุนแรง ไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม
5 วิธี ลดความรุนแรงในครอบครัว
อินโฟกราฟิกส์
Modal Title

5 วิธี ลดความรุนแรงในครอบครัว

24
1. สร้างความรักความผูกพัน ชื่นชม พูดคุย ทำกิจกรรม ร่วมกัน
2. จัดการความเครียด ออกกำลัง กาย นั่งสมาธิ
3. สื่อสารสร้างสรรค์ รู้จักประนี ประนอม เลี่ยงการโต้เถียง ไม่กดดัน
4. ไม่ใช้ความรุนแรง แก้ปัญหา แบบมีเหตุมีผล ใจเย็นและ รับฟัง
5. เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกเพราะลูกเลียนแบบพ่อแม่
6. มีเวลาให้ครอบครัว ดูแล เอาใจใส่ มอบความรักไม่ให้ ขาดความอบอุ่น
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ขอร่วมสนับสนุนรณรงค์ยุติความรุนแรง ไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม
5 วิธี ลดความรุนแรงในครอบครัว
Modal Title

5 คำแนะนำ สำหรับผู้พบเห็นความรุนแรงในครอบครัว

ความรุนแรงในครอบครัว เป็นเรื่องของเราทุกคน ซึ่งการกระทำที่ทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพ รวมถึงบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำ/ไม่กระทำ หรือยอมรับ “เป็นการกระทำโดยมิชอบ” หากพบเห็นการใช้ความรุนแรงในครอบครัว สามารถทำได้ดังนี้
1. แจ้งเจ้าหน้าที่ดำเนินการระงับเหตุโดยเร็ว
ซึ่งจะได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 5 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 หากแจ้งเหตุตามความเป็นจริง
 
2. สถานที่รับแจ้งเหตุ
กรุงเทพมหานคร แจ้งกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ส่วนภูมิภาค แจ้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศูนย์พึ่งได้ (OSCC) ซึ่งมีในโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดซึ่งมีทุกจังหวัด
 
3. แจ้งเหตุความรุนแรงในครอบครัว
แก้เจ้าหน้าที่ตำรวจ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
 
5. วิธีการแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่
เช่น แจ้งโดยวาจา แจ้งเป็นหนังสือ สายด่วนศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 แจ้งด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์
 
6. ข้อควรระวังสำหรับผู้แจ้งเหตุ
ไม่ควรเผยแพร่ภาพ เรื่องราว หรือข้อมูลที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวหรือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ขอร่วมสนับสนุนรณรงค์ยุติความรุนแรง ไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม 
5 คำแนะนำ สำหรับผู้พบเห็นความรุนแรงในครอบครัว
อินโฟกราฟิกส์
Modal Title

5 คำแนะนำ สำหรับผู้พบเห็นความรุนแรงในครอบครัว

ความรุนแรงในครอบครัว เป็นเรื่องของเราทุกคน ซึ่งการกระทำที่ทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพ รวมถึงบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำ/ไม่กระทำ หรือยอมรับ “เป็นการกระทำโดยมิชอบ” หากพบเห็นการใช้ความรุนแรงในครอบครัว สามารถทำได้ดังนี้
1. แจ้งเจ้าหน้าที่ดำเนินการระงับเหตุโดยเร็ว
ซึ่งจะได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 5 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 หากแจ้งเหตุตามความเป็นจริง
 
2. สถานที่รับแจ้งเหตุ
กรุงเทพมหานคร แจ้งกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ส่วนภูมิภาค แจ้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศูนย์พึ่งได้ (OSCC) ซึ่งมีในโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดซึ่งมีทุกจังหวัด
 
3. แจ้งเหตุความรุนแรงในครอบครัว
แก้เจ้าหน้าที่ตำรวจ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
 
5. วิธีการแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่
เช่น แจ้งโดยวาจา แจ้งเป็นหนังสือ สายด่วนศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 แจ้งด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์
 
6. ข้อควรระวังสำหรับผู้แจ้งเหตุ
ไม่ควรเผยแพร่ภาพ เรื่องราว หรือข้อมูลที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวหรือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ขอร่วมสนับสนุนรณรงค์ยุติความรุนแรง ไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม 
5 คำแนะนำ สำหรับผู้พบเห็นความรุนแรงในครอบครัว
Modal Title

ทำอย่างไรให้ปลอดภัย เมื่อถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ

การถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ อาจไม่ใช่เรื่องไกลตัวในยุคสังคมปัจจุบัน แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นไม่ว่าจะกับใครหรือเพศไหนก็ตาม เพราะฉะนั้นเราทุกคนควรรู้ไว้เมื่อถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ ควรทำอย่างไรดี
1. ตั้งสติ หลบหนีไปบริเวณที่มีทางออก
ไม่ควรเข้าไปอยู่ในตู้เสื้อผ้า ห้องน้ำ ห้องเก็บของ ห้องครัว โรงรถ
 
2. การขอความช่วยเหลือ
เพื่อนบ้าน ผู้นำชุมชน รปภ.หมู่บ้าน สถานีตำรวจ รพ.สต./โรงพยาบาล
 
3. โทรหา
สายด่วน191 หรือสายด่วนศูนย์ผู้ช่วยเหลือสังคม 1300
 
4. เก็บรวบรวมหลักฐาน
เช่น เสื้อผ้าที่ใส่ ภาพถ่ายร่องรอยการถูกกระทำ ห้ามชำระร่างกายก่อนตรวจรักษา
 
5. เข้ารับการตรวจรักษา เพื่อตรวจร่างกาย
รับการดูแลเบื้องต้น การป้องกันการตั้งครรภ์ การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์
 
6. ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย
ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการทางกฎหมาย
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ขอร่วมสนับสนุนรณรงค์ยุติความรุนแรง ไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม 
ทำอย่างไรให้ปลอดภัย เมื่อถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ
อินโฟกราฟิกส์
Modal Title

ทำอย่างไรให้ปลอดภัย เมื่อถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ

การถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ อาจไม่ใช่เรื่องไกลตัวในยุคสังคมปัจจุบัน แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นไม่ว่าจะกับใครหรือเพศไหนก็ตาม เพราะฉะนั้นเราทุกคนควรรู้ไว้เมื่อถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ ควรทำอย่างไรดี
1. ตั้งสติ หลบหนีไปบริเวณที่มีทางออก
ไม่ควรเข้าไปอยู่ในตู้เสื้อผ้า ห้องน้ำ ห้องเก็บของ ห้องครัว โรงรถ
 
2. การขอความช่วยเหลือ
เพื่อนบ้าน ผู้นำชุมชน รปภ.หมู่บ้าน สถานีตำรวจ รพ.สต./โรงพยาบาล
 
3. โทรหา
สายด่วน191 หรือสายด่วนศูนย์ผู้ช่วยเหลือสังคม 1300
 
4. เก็บรวบรวมหลักฐาน
เช่น เสื้อผ้าที่ใส่ ภาพถ่ายร่องรอยการถูกกระทำ ห้ามชำระร่างกายก่อนตรวจรักษา
 
5. เข้ารับการตรวจรักษา เพื่อตรวจร่างกาย
รับการดูแลเบื้องต้น การป้องกันการตั้งครรภ์ การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์
 
6. ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย
ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการทางกฎหมาย
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ขอร่วมสนับสนุนรณรงค์ยุติความรุนแรง ไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม 
ทำอย่างไรให้ปลอดภัย เมื่อถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ
Modal Title

7 ต้นเหตุความรุนแรงในครอบครัว

ความรุนแรงในครอบครัวคือ การทำร้ายร่างกาย จิตใจ สุขภาพของคนในครอบครัว หรือบังคับ ข่มเหงให้ทำความผิด โดยอาจเกิดได้จาก7ต้นเหตุนี้
1. ครอบครัวกดดัน ขาดความอบอุ่น
2. สภาพแวดล้อมที่ไม่ดี
3. ติดการพนัน
4. ทำร้ายร่างกาย/จิตใจ (บังคับ ข่มเหง)
5. ทะเลาะวิวาท
6. ติดสุรายาเสพติด
7. ความเครียดทางเศรษฐกิจ
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ขอร่วมสนับสนุนรณรงค์ยุติความรุนแรง ไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม 
7 ต้นเหตุความรุนแรงในครอบครัว
อินโฟกราฟิกส์
Modal Title

7 ต้นเหตุความรุนแรงในครอบครัว

ความรุนแรงในครอบครัวคือ การทำร้ายร่างกาย จิตใจ สุขภาพของคนในครอบครัว หรือบังคับ ข่มเหงให้ทำความผิด โดยอาจเกิดได้จาก7ต้นเหตุนี้
1. ครอบครัวกดดัน ขาดความอบอุ่น
2. สภาพแวดล้อมที่ไม่ดี
3. ติดการพนัน
4. ทำร้ายร่างกาย/จิตใจ (บังคับ ข่มเหง)
5. ทะเลาะวิวาท
6. ติดสุรายาเสพติด
7. ความเครียดทางเศรษฐกิจ
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ขอร่วมสนับสนุนรณรงค์ยุติความรุนแรง ไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม 
7 ต้นเหตุความรุนแรงในครอบครัว
Modal Title

4 วิธี “ผู้สูงวัย” รู้ทันสื่อ

ในยุคที่ทุกคนสามารถ รับ-ส่งข้อมูลข่าวสารกันอย่างสะดวกสบาย หลายครั้งผู้สูงอายุอาจเกิดความสับสนและหลงเชื่อไปกับข่าวปลอม วันนี้เราขอแนะนำ 4 วิธี รู้ทันสื่อ
🤚 หยุด!
อย่าด่วนเชื่อ อย่าด่วนซื้อ ระวังถูกหลอก
💡 คิด!
วิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย นึกถึงผลกระทบ
💬 ถาม!
หาข้อมูลเพิ่มเติม อย่าเชื่อสื่อแหล่งเดียว
📱 ทำ!
ปฏิบัติตาม 3 ข้อด้านบน ใจเย็นๆค่อยๆ ตัดสินใจ
ช่วยสังคมสูงวัยรับมือ Fake news ป้องกันมิจฉาชีพหลอกลวงผู้สูงอายุ ผ่านสื่อชนิดต่างๆ เพื่อสุขภาวะที่ดี
📞 ปรึกษาการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีพาวะพึ่งพิง โทร. 091 333 1909
4 วิธี “ผู้สูงวัย” รู้ทันสื่อ
อินโฟกราฟิกส์
Modal Title

4 วิธี “ผู้สูงวัย” รู้ทันสื่อ

ในยุคที่ทุกคนสามารถ รับ-ส่งข้อมูลข่าวสารกันอย่างสะดวกสบาย หลายครั้งผู้สูงอายุอาจเกิดความสับสนและหลงเชื่อไปกับข่าวปลอม วันนี้เราขอแนะนำ 4 วิธี รู้ทันสื่อ
🤚 หยุด!
อย่าด่วนเชื่อ อย่าด่วนซื้อ ระวังถูกหลอก
💡 คิด!
วิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย นึกถึงผลกระทบ
💬 ถาม!
หาข้อมูลเพิ่มเติม อย่าเชื่อสื่อแหล่งเดียว
📱 ทำ!
ปฏิบัติตาม 3 ข้อด้านบน ใจเย็นๆค่อยๆ ตัดสินใจ
ช่วยสังคมสูงวัยรับมือ Fake news ป้องกันมิจฉาชีพหลอกลวงผู้สูงอายุ ผ่านสื่อชนิดต่างๆ เพื่อสุขภาวะที่ดี
📞 ปรึกษาการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีพาวะพึ่งพิง โทร. 091 333 1909
4 วิธี “ผู้สูงวัย” รู้ทันสื่อ
Modal Title

4 วิธีพัฒนาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ

วัยชราเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน รวมถึงอารมณ์และจิตใจที่ไวต่อการกระตุ้นจากสิ่งเร้าทั้งภายนอกและภายในจนนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพจิตและปัญหาเรื้อรังอื่น ๆ ได้ ดังนั้นการดูแลสุขภาพจิตจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ โดยมีการพัฒนาสุขภาพจิตดังนี้
1. การอ่านและการเขียน
การอ่านช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจำ ลดความเครียด และส่งเสริมการนอนหลับให้ดีขึ้น
2. การเล่นดนตรี
การเล่นดนตรีช่วยเพิ่มความจำในผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมได้
3. การเรียนรู้ภาษาใหม่
การเรียนรู้ภาษาใหม่เป็นการพัฒนาสมอง สำหรับผู้สูงวัยและจะสร้างความมั่นใจให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
4. การเล่นเกมไขปริศนา
การเล่นเกมไขปริศนาได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถชะลอความจำเสื่อมและเพิ่มพูนสุขภาพจิตให้กับผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุเป็นช่วงชีวิตหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งทางร่างกายและจิตใจจนอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา แต่หากลูกหลานและสมาชิกในครอบครัวสามารถรับมือได้อย่างเหมาะสมก็จะให้ปัญหาต่าง ๆ ทุเลาลง นำมาซึ่งความสุขของสมาชิกทุกคนในครอบครัวต่อไป
📞 ปรึกษาการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีพาวะพึ่งพิง โทร. 091 333 1909
4 วิธีพัฒนาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ
อินโฟกราฟิกส์
Modal Title

4 วิธีพัฒนาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ

วัยชราเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน รวมถึงอารมณ์และจิตใจที่ไวต่อการกระตุ้นจากสิ่งเร้าทั้งภายนอกและภายในจนนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพจิตและปัญหาเรื้อรังอื่น ๆ ได้ ดังนั้นการดูแลสุขภาพจิตจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ โดยมีการพัฒนาสุขภาพจิตดังนี้
1. การอ่านและการเขียน
การอ่านช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจำ ลดความเครียด และส่งเสริมการนอนหลับให้ดีขึ้น
2. การเล่นดนตรี
การเล่นดนตรีช่วยเพิ่มความจำในผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมได้
3. การเรียนรู้ภาษาใหม่
การเรียนรู้ภาษาใหม่เป็นการพัฒนาสมอง สำหรับผู้สูงวัยและจะสร้างความมั่นใจให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
4. การเล่นเกมไขปริศนา
การเล่นเกมไขปริศนาได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถชะลอความจำเสื่อมและเพิ่มพูนสุขภาพจิตให้กับผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุเป็นช่วงชีวิตหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งทางร่างกายและจิตใจจนอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา แต่หากลูกหลานและสมาชิกในครอบครัวสามารถรับมือได้อย่างเหมาะสมก็จะให้ปัญหาต่าง ๆ ทุเลาลง นำมาซึ่งความสุขของสมาชิกทุกคนในครอบครัวต่อไป
📞 ปรึกษาการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีพาวะพึ่งพิง โทร. 091 333 1909
4 วิธีพัฒนาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ
Modal Title

8 วิธีดูแลผู้สูงอายุ ให้มีสุขภาพดี

การดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดีนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะถ้าผู้สูงอายุสุขภาพไม่แข็งแรง เจ็บป่วยบ่อย แน่นอนเราในฐานะลูกหลานคงไม่สบายใจ เราจึงควรดูแลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี แข็งแรงตั้งแต่เนิ่นๆ ดังนี้
1. 👁 ดูแลสุขภาพดวงตา
ผู้สูงอายุควรเข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาหรือวัดสายตา และตรวจดูมีปัญหาสุขภาพตาหรือไม่ เพื่อรับการรักษาในกรณีที่ดวงตาผิดปกติ
2. 👂 ดูแลการได้ยิน
ผู้สูงอายุควรเข้ารับตรวจเกี่ยวกับการได้ยิน เพราะภาวะสูญเสียการได้ยินนับเป็นปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ ซึ่งมักจะค่อย ๆ เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว และการสูญเสียการได้ยินส่งผลต่อการดำเนินชีวิต
3. 👄 ดูแลสุขภาพช่องปาก
ผู้สูงอายุควรลดปริมาณอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล รวมทั้งเลี่ยงรับประทานอาหารประเภทนี้นี้ก่อนเข้านอน เพราะน้ำตาลอาจเกิดการสะสมและกลายเป็นแป้งอยู่ในช่องปากและฟัน ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพปากและฟันเกิดขึ้น
4. 🦶 ดูแลสุขภาพเท้า
หมั่นล้างเท้าให้สะอาดทุกวันเพื่อป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ เนื่องจากสิ่งสกปรกที่ติดตามผิวหนัง อาจทำให้ระคายเคืองและติดเชื้อ
5. 🧠 ดูแลสมอง
หมั่นพูดคุยหรือพาผู้สูงอายุไปเที่ยวเพื่อสร้างความผ่อนคลาย หากิจกรรมเสริมสร้างทักษะให้ได้ใช้สมองเพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์ หรือมีกิจกรรมใหม่ๆตามสมควร
6. ❤️ ดูแลสุขภาพจิต
วางแผนทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ท่านไม่เหงาและเกิดภาวะเครียด
7. 🏃‍♂️กระตุ้นให้เคลื่อนไหวร่างกาย
กระตุ้นให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น ประมาณครั้งละ 30 นาที โดยเลือกกิจกรรมให้เหมาะสม เช่น เดินเร็ว ขึ้นลงบันได ว่ายน้ำ ฝึกออกกำลังกายอย่างง่าย โดยใช้เก้าอี้ช่วย
8. 🚽 ดูแลปัญหาสุขภาพการปัสสาวะและขับถ่าย
ดูแลให้ดื่มน้ำเปล่าอย่างเพียงพอ ลดปริมาณการดื่มชา กาแฟ โคล่า
การดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดีประกอบด้วยการเรียนรู้และความเข้าใจวิธีดูแลที่ถูกต้อง โดยต้องใส่ใจการดูแลสุขภาพและจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้แก่ผู้สูงอายุ
📞 ปรึกษาการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีพาวะพึ่งพิง โทร. 091 333 1909
8 วิธีดูแลผู้สูงอายุ ให้มีสุขภาพดี
อินโฟกราฟิกส์
Modal Title

8 วิธีดูแลผู้สูงอายุ ให้มีสุขภาพดี

การดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดีนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะถ้าผู้สูงอายุสุขภาพไม่แข็งแรง เจ็บป่วยบ่อย แน่นอนเราในฐานะลูกหลานคงไม่สบายใจ เราจึงควรดูแลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี แข็งแรงตั้งแต่เนิ่นๆ ดังนี้
1. 👁 ดูแลสุขภาพดวงตา
ผู้สูงอายุควรเข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาหรือวัดสายตา และตรวจดูมีปัญหาสุขภาพตาหรือไม่ เพื่อรับการรักษาในกรณีที่ดวงตาผิดปกติ
2. 👂 ดูแลการได้ยิน
ผู้สูงอายุควรเข้ารับตรวจเกี่ยวกับการได้ยิน เพราะภาวะสูญเสียการได้ยินนับเป็นปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ ซึ่งมักจะค่อย ๆ เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว และการสูญเสียการได้ยินส่งผลต่อการดำเนินชีวิต
3. 👄 ดูแลสุขภาพช่องปาก
ผู้สูงอายุควรลดปริมาณอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล รวมทั้งเลี่ยงรับประทานอาหารประเภทนี้นี้ก่อนเข้านอน เพราะน้ำตาลอาจเกิดการสะสมและกลายเป็นแป้งอยู่ในช่องปากและฟัน ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพปากและฟันเกิดขึ้น
4. 🦶 ดูแลสุขภาพเท้า
หมั่นล้างเท้าให้สะอาดทุกวันเพื่อป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ เนื่องจากสิ่งสกปรกที่ติดตามผิวหนัง อาจทำให้ระคายเคืองและติดเชื้อ
5. 🧠 ดูแลสมอง
หมั่นพูดคุยหรือพาผู้สูงอายุไปเที่ยวเพื่อสร้างความผ่อนคลาย หากิจกรรมเสริมสร้างทักษะให้ได้ใช้สมองเพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์ หรือมีกิจกรรมใหม่ๆตามสมควร
6. ❤️ ดูแลสุขภาพจิต
วางแผนทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ท่านไม่เหงาและเกิดภาวะเครียด
7. 🏃‍♂️กระตุ้นให้เคลื่อนไหวร่างกาย
กระตุ้นให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น ประมาณครั้งละ 30 นาที โดยเลือกกิจกรรมให้เหมาะสม เช่น เดินเร็ว ขึ้นลงบันได ว่ายน้ำ ฝึกออกกำลังกายอย่างง่าย โดยใช้เก้าอี้ช่วย
8. 🚽 ดูแลปัญหาสุขภาพการปัสสาวะและขับถ่าย
ดูแลให้ดื่มน้ำเปล่าอย่างเพียงพอ ลดปริมาณการดื่มชา กาแฟ โคล่า
การดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดีประกอบด้วยการเรียนรู้และความเข้าใจวิธีดูแลที่ถูกต้อง โดยต้องใส่ใจการดูแลสุขภาพและจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้แก่ผู้สูงอายุ
📞 ปรึกษาการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีพาวะพึ่งพิง โทร. 091 333 1909
8 วิธีดูแลผู้สูงอายุ ให้มีสุขภาพดี
Modal Title

เคล็ดลับ สูงวัยอารมณ์ดี

อารมณ์แปรปรวนในผู้สูงอายุ คือ อาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่รวดเร็ว อาจมีหลากหลายอารมณ์ใน 1 วันได้ เราจึงมีเคล็ดลับสร้างอารมณ์ดีในผู้สูงอายุ และเพื่อสุขภาพจิตที่ดีในทุกๆ วัน
1. สร้างความคิดบวก
ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เข้าใจกฎของธรรมชาติ อาจเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา การช่วยเหลือ หรือให้กำลังใจผู้อื่น
2. เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
ได้พัฒนาตนเองไม่หยุดนิ่ง เช่น ลองเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างการรับชมคลิปผ่าน Youtube หรือการลองใช้แอปพลิเคชันต่างๆ ในโทรศัพท์มือถืออย่างรู้เท่าทัน
3. เข้าร่วมกลุ่มสังคมที่เหมาะสม เช่น ชมรมผู้สูงอายุที่มีอยู่ในชุมชนหรือโรงพยาบาล หรือชมรมออกกำลังกาย ได้พบเพื่อนวัยเดียวกันช่วยคลายเหงา
4. ตั้งเป้าหมายในชีวิตประจำวันง่ายๆ
มีงานอดิเรกหรือกิจกรรมทำเป็นประจำ เพราะการอยู่เฉยๆ จะทำให้คิดมาก และซึมเศร้าได้ง่าย
5. ฝึกบริหารสติในชีวิตประจำวัน
ด้วยการให้ฝึกหายใจ รับรู้ว่าตัวเองมีความสุขหรือความทุกข์ หรือมีอารมณ์ต่างๆ และยอมรับตามความเป็นจริง
6. จัดสภาพแวดล้อมให้สดชื่น
จัดห้องพักให้มีแสงแดดส่อง มีดอกไม้ต้นไม้ ช่วยสร้างบรรยากาศในบ้านให้ผ่อนคลาย มีข้อความหรือรูปภาพที่ให้กำลังใจ
การดูแลสุขภาพจิตในช่วงบั้นปลายก็เป็นสิ่งสำคัญ ลูก ๆ หลาน ๆ สามารถทำให้ผู้สูงอายุได้ ก็คือการทำ “ความเข้าใจ” และหาทางแก้ไขเพื่อทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น และอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขนั่นเอง
📞 ปรึกษาการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีพาวะพึ่งพิง โทร. 091 333 1909
เคล็ดลับ สูงวัยอารมณ์ดี
อินโฟกราฟิกส์
Modal Title

เคล็ดลับ สูงวัยอารมณ์ดี

อารมณ์แปรปรวนในผู้สูงอายุ คือ อาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่รวดเร็ว อาจมีหลากหลายอารมณ์ใน 1 วันได้ เราจึงมีเคล็ดลับสร้างอารมณ์ดีในผู้สูงอายุ และเพื่อสุขภาพจิตที่ดีในทุกๆ วัน
1. สร้างความคิดบวก
ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เข้าใจกฎของธรรมชาติ อาจเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา การช่วยเหลือ หรือให้กำลังใจผู้อื่น
2. เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
ได้พัฒนาตนเองไม่หยุดนิ่ง เช่น ลองเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างการรับชมคลิปผ่าน Youtube หรือการลองใช้แอปพลิเคชันต่างๆ ในโทรศัพท์มือถืออย่างรู้เท่าทัน
3. เข้าร่วมกลุ่มสังคมที่เหมาะสม เช่น ชมรมผู้สูงอายุที่มีอยู่ในชุมชนหรือโรงพยาบาล หรือชมรมออกกำลังกาย ได้พบเพื่อนวัยเดียวกันช่วยคลายเหงา
4. ตั้งเป้าหมายในชีวิตประจำวันง่ายๆ
มีงานอดิเรกหรือกิจกรรมทำเป็นประจำ เพราะการอยู่เฉยๆ จะทำให้คิดมาก และซึมเศร้าได้ง่าย
5. ฝึกบริหารสติในชีวิตประจำวัน
ด้วยการให้ฝึกหายใจ รับรู้ว่าตัวเองมีความสุขหรือความทุกข์ หรือมีอารมณ์ต่างๆ และยอมรับตามความเป็นจริง
6. จัดสภาพแวดล้อมให้สดชื่น
จัดห้องพักให้มีแสงแดดส่อง มีดอกไม้ต้นไม้ ช่วยสร้างบรรยากาศในบ้านให้ผ่อนคลาย มีข้อความหรือรูปภาพที่ให้กำลังใจ
การดูแลสุขภาพจิตในช่วงบั้นปลายก็เป็นสิ่งสำคัญ ลูก ๆ หลาน ๆ สามารถทำให้ผู้สูงอายุได้ ก็คือการทำ “ความเข้าใจ” และหาทางแก้ไขเพื่อทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น และอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขนั่นเอง
📞 ปรึกษาการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีพาวะพึ่งพิง โทร. 091 333 1909
เคล็ดลับ สูงวัยอารมณ์ดี

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า