fbpx
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

กินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มา !!จะท้องไหม

pill003

สาวๆหลายคน มีความวิตกกังวลว่า ประจำเดือนไม่มาทั้ง ๆ ที่ก็กินยาเม็ดคุมกำเนิดไม่เคยขาด ตรงเวลาเป๊ะๆ แต่แท้ที่จริงแล้ว การที่ประจำเดือนไมามานั้นมีหลายสาเหตุ

ผลข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิด

ยาเม็ดคุมกำเนิด บางยี่ห้อแล้วก็อาจเกิดผลข้างเคียง เช่น ทำให้ประจำเดือนขาด โดยเฉพาะคนที่มีประวัติประจำเดือนมาน้อย หรือมาไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นหากในช่วงหยุดกินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มาพร้อมกับทดสอบการตั้งครรภ์แล้วปรากฏว่าไม่ท้อง แนะนำให้ปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อหาวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะกับสภาพร่างกายของเราที่สุด

กินยาที่ต่อต้านการออกฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิด

ยากันชัก หรือยารักษาวัณโรค มีฤทธิ์ต่อต้านการออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิด ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดลดลง ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนปรวนแปร ประจำเดือนจึงไม่มาได้ แนะนำให้รอประจำเดือนมาสักระยะ ถ้าประจำเดือนยังไม่มา ควรทดสอบการตั้งครรภ์ หรือปรึกษาการวางแผนครอบครัวเพื่อความมั่นใจ

ระดับฮอร์โมนของยาเม็ดคุมกำเนิด

สำหรับคนที่กินยาเม็ดคุมกำเนิดแล้วมีเลือดออกกะปริบกะปรอย ประจำเดือนมาน้อยมาก จนแทบจะเข้าข่ายกินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มา อาจเป็นผลจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในตัวยาคุมกำเนิดก็ได้ และหากมั่นใจว่าเรากินยาคุมกำเนิดอย่างถูกวิธีไม่มีบกพร่อง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกใช้วิธีคุมกำเนิดหรือยาคุมกำเนิดตัวใหม่ที่เหมาะกับร่างกาย

การปรับฮอร์โมนของร่างกาย

กินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มา มักเกิดกับคนที่เพิ่งเริ่มกินยาคุมใหม่ ๆ เนื่องจากร่างกายของผู้หญิงบางคนอาจต้องใช้ระยะเวลาในการปรับฮอร์โมน ซึ่งอาจกินเวลายาวนานไปจนถึงการรับประทานยาคุมแผงที่ 2-3 ดังนั้นหากมั่นใจว่ากินยาคุมถูกต้องแน่ ๆ แนะนำให้รอร่างกายปรับฮอร์โมนสัก 2-3 เดือน หากพ้นจากนี้แล้วประจำเดือนยังไม่มาทั้ง ๆ ที่กินยาคุมอย่างสม่ำเสมอ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์

กินยาคุมฉุกเฉิน

สาว ๆ บางคนอาจเลือกกินยาคุมฉุกเฉินในวันที่ลืมกินยาคุมกำเนิดแบบปกติ ซึ่งก็สามารถทำได้ ไม่เกิดอันตรายใด ๆ ทว่าก็อาจมีผลข้างเคียงอย่างประจำเดือนที่น่าจะมาตามรอบของยาคุมกำเนิด อาจเลื่อนออกไปทำให้ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ หรือบางคนที่ระดับฮอร์โมนในร่างกายแกว่งอยู่แล้ว ประจำเดือนอาจขาดไปเลยก็มี แต่หากกินยาคุมกำเนิดต่อไปอีก 1 แผงแล้วประจำเดือนก็ยังไม่มา แนะนำให้ตรวจสอบการตั้งครรภ์หรือปรึกษาแพทย์จะดีกว่า

หยุดกินยาคุมระหว่างแผง

หากคุณหยุดกินยาคุมกลางคัน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ก็อาจเจอกับอาการเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือประจำเดือนคลาดเคลื่อนได้ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะกินยาคุมกำเนิดมาหลายแผงแล้ว ประจำเดือนก็มาตรงกำหนดไม่คลาดเคลื่อนมาก่อนเลย และหากกังวลใจว่าหยุดกินยาคุมแล้วจะท้องไหม ให้ลองทดสอบการตั้งครรภ์และปรึกษาแพทย์

เปลี่ยนชนิดของยาคุม

สาว ๆ บางคนอาจเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิด เช่น จากที่กินยาคุมกำเนิด ก็อาจเปลี่ยนไปใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด หรือวิธีคุมกำเนิดชนิดอื่น ซึ่งอาจส่งผลให้ประจำเดือนคลาดเคลื่อนได้ โดยเฉพาะในระยะแรก ๆ ที่เริ่มใช้วิธีคุมกำเนิดชนิดใหม่ แต่หากเปลี่ยนมาใช้วิธีคุมกำเนิดแบบใหม่ได้เกิน 2 เดือนแล้ว แต่ประจำเดือนยังคงไม่มา อาจต้องทดสอบการตั้งครรภ์หรือปรึกษาแพทย์

อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน หรือก่อนหมดประจำเดือน

สำหรับสาวในช่วงวัยหมดประจำเดือนที่ยังกินยาคุมกำเนิดเป็นประจำ แต่ระยะหลัง ๆ ประจำเดือนเริ่มขาดหายไป นี่อาจเป็นเพราะกำลังจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ลองปรึกษาแพทย์

ความเครียด

ความเครียดเป็นตัวการร้ายที่ทำให้ประจำเดือนเราไม่มาตามนัดได้ และความเครียดก็ไม่สนใจว่าเราจะกินยาคุมอยู่หรือไม่ด้วย เพราะความเครียดจะส่งผลกับอารมณ์และการหลั่งฮอร์โมนของเราโดยตรง ซึ่งอาจทำให้การตกไข่ และรอบเดือนของเราผิดปกติไปได้นั่นเอง

ผลข้างเคียงจากโรคบางอย่าง

แม้จะกินยาคุมกำเนิดอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ แต่หากว่าคุณมีอาการของโรคบางชนิด เช่น โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง ไทรอยด์ ถุงน้ำรังไข่ โรคเครียด โรคไตหรือโรคซิสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis) อาการของโรคดังกล่าวอาจส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาก็ได้ ดังนั้นหากประจำเดือนขาดไป 6 เดือนหรือมากกว่านั้นก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ แนะนำให้ไปตรวจเช็กร่างกายให้ละเอียดถี่ถ้วนจะดีกว่า

ตั้งครรภ์

แน่นอนว่าไม่มีวิธีคุมกำเนิดชนิดไหนที่ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% โดยเฉพาะหากคุณคุมกำเนิดไม่ถูกวิธี เช่น ลืมกินยาคุมบ้าง กินยาคุมไม่ตรงเวลาบ้าง เป็นต้น การใช้ยาคุมไม่ถูกวิธีเช่นนี้ก็อาจส่งผลให้ประจำเดือนมาแบบกะปริบกะปรอย ประจำเดือนไม่มา หรืออาจเกิดการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน และถ้าหากกินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มา พร้อมทั้งมีอาการคนท้องอื่น ๆ ร่วมด้วย ก็แปลว่าการคุมกำเนิดของเราไม่ประสบผลสำเร็จ

ภาวะกินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มายังอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน รวมถึงยี่ห้อและชนิดของยาเม็ดคุมกำเนิดที่กิน หรือวิธีคุมกำเนิดที่ใช้ หากประจำเดือนไม่มานานเกินกว่า 6 เดือนแนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วนต่อไป

ข้อมูลจากรายการ รั้วรอบครอบครอบครัว facebook/PPATBANGKOK Youtube/PPAT CHANNEL

TAGS

คลังความรู้

คำตอบ เป็นวิธีที่ไม่แนะนำ เพราะประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉินค่อนข้างต่ำ สามารถคุมกำเนิดได้เพียง 50% เมื่อเทียบกับการกินยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบกินทุกวัน และยาคุมฉุกเ…
หมอ ต้องบอกว่าร่างกายของเด็กสาวสมัยนี้ค่อนข้างโตเร็ว ในเคสของน้องก็ต้องมาดูว่าร่างกายมีพัฒนาการหรือยัง เช่น สูงขึ้น เริ่มมีหน้าอก เริ่มมีขนอ่อนบริเวณอวัยวะเพศหร…

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า