fbpx

เปิดโครงการยุติการคุกคามทางเพศในสถานศึกษาวงyesindeedband ร่วมรณรงค์

DSC_4956

การคุกคามทางเพศในสถาบันการศึกษา ทั้งระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยจนหลายคนอดเป็นห่วงไม่ได้  สวท เป็นหนึ่งในองค์กรที่ออกมาเรียกร้องให้เร่งแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ด้วยการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อหยุดปัญหาการคุกคามในสถานศึกษา

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ งามวงศ์วาน  สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ร่วมกับ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ สนับสนุนการดำเนินงานโดย สหพันธ์วางแผนครอบครัวระหว่างประเทศ ( IPPF ) จัดกิจกรรมรณรงค์ในหัวข้อ “อย่ายอม อย่าเริ่ม อย่าทน ถึงเวลาหยุดการคุกคามทางเพศอย่างจริงจังหรือยัง”  ภายใต้ โครงการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักและสนับสนุนการยุติการคุกคามทางเพศในสถานศึกษา ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ชญานิศวร์ โคโนะ เลขาธิการสมาคมฯ อาจารย์วิเชียร เนียมน้อม ผู้แทนผู้รับใบอนุญาตและผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ / กรรมการ สมาคมฯ คุณสุขสดชื่น สุขสมจิตร และคุณดัชนียา รัตนศิริ กรรมการเยาวชน คุณสมเจตน์ ศรีกนก ผู้อำนวยการสมาคมฯ และตัวแทนเยาวชนจากทางโครงการฯ​ พร้อมด้วยศิลปินกระแสดังวง #yesindeedband และกิจกรรมการโชว์มาร่วมรณรงค์ในครั้งนี้ พร้อมกับบูธสุดสร้างสรรค์จากทางโครงการฯ งานนี้สนุกสนานได้ความรู้และของรางวัลมากมาย

รองศาสตราจารย์ ดร.ชญานิศวร์ โคโนะ เลขาธิการสมาคมฯ  กล่าวว่า  การคุกคามทางเพศในประเทศไทยมักเป็นเรื่องที่ถูกมองข้าม จากรายงานการสำรวจการคุกคามทางเพศ ในประเทศไทยต่อนักเรียนนักศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพนั้นสูงถึงร้อยละ 74.3  โดยผู้คุกคามคือเพื่อนชายในชั้นเรียน  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการคุกคามด้วยวาจา และร้อยละ 85 ของนักศึกษาหญิงในระดับปริญญาตรีเคยมีประสบการณ์การโดนคุกคามทางเพศอย่างน้อยหนึ่งครั้ง จากสถานการณ์ดังกล่าว สมาคมฯ จึงดำเนินโครงการรณรงค์ เพื่อสร้างความตระหนัก และสนับสนุนความสำคัญของการยุติ การคุกคาม หรือล่วงละเมิดทางเพศในสถานศึกษาขึ้น เพื่อรณรงค์ให้ยุติการคุกคามทางเพศในสถานศึกษาอย่างจริงจัง ช่วยให้ผู้หญิงในสถานศึกษาได้มีพื้นที่ปลอดภัย

คุณสมเจตน์ ศรีกนก ผู้อำนวยการสมาคมฯ กล่าวว่า เราพยายามผลักดันให้สถานศึกษาทุกระดับต้องมีหลักสูตรให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้านมืดของการคุกคามทางเพศ  โดยเฉพาะการเรียนรู้เชิงกระบวนการ และมีพื้นที่รับเรื่องร้องเรียน  โดยเฉพาะกรณีครูละเมิดต่อนักเรียน กลไกดังกล่าวต้องมาพร้อมกับโรงเรียนที่เป็นมิตรปลอดภัย ปราศจากระบบอำนาจนิยม และต้องมีการลงโทษนักเรียนที่มีพฤติกรรมคุกคามทางเพศ ด้วยการปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ถูกต้อง เป็นการให้บทเรียนแทนการลงโทษแบบผลักไสไล่ส่งออกไปจากสังคม เราอยากเห็นกลไกการทำงานของสถานศึกษาจึงได้นำร่องที่วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์

ขณะที่  น.ส. วริทยา รัศมี ตัวแทน Activist จากโครงการฯ  กล่าวว่า ทุกคนทราบดีว่าการคุกคามทางเพศเป็นอาชญากรรม และเป็นปัญหาในสถานศึกษาที่ ถูกซุกอยู่ใต้พรมมานาน เพื่อนผู้ชายตีความการคุกคามทางเพศต้องเป็นเรื่องของการข่มขื่นเท่านั้น  ซึ่งจริงๆ แล้วการคุกคามทางเพศมีหลายรูปแบบ ทั้งคำพูดสองแง่สองงาม  สายตาที่จองมองสรีระของผู้หญิง หรือการถูกเนื้อต้องตัว ทุกเรื่องล้วนเป็นการทำร้ายจิตใจของเหยื่อแทบทั้งสิ้น สังคมควรตระหนักถึงเรื่องนี้มากกว่านี้ จึงเป็นที่มาของแคมเปญนี้ “อย่ายอม อย่าเริ่ม อย่าทน”

น้องเน น.ส.สุชาวดี โถน้อย ตัวแทนนักศึกษาจาก วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์  กล่าวว่า  การคุกคามทางเพศไม่ว่าจะทางไหน วิธีการอะไร มันก็คือ การกระทำที่ไม่ดีต่อกัน  ทั้งทางร่างกายและจิตใจ  ที่น่าเป็นห่วงคือ เยาวชนในทุกวันนี้ยังไม่เข้าใจว่า แบบไหนคือการคุกคามทางเพศ แบบไหนไม่ใช่  สนิทได้แต่ไม่ล้ำเส้น ซึ่งน่าเป็นห่วงมากๆ ส่วนตัวอย่างให้สถานศึกษาให้ความรู้ในประเด็นนี้ให้มากขึ้น  เพราะอย่างน้อยมันก็ยังเป็นเกราะให้เราได้ป้องกันตนเอง  หรือการมีช่องทางช่วยเหลือเมื่อเราถูกกระทำ อยากของคุณสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯที่จัดกิจกรรมดีๆแบบนี้

ขอขอบคุณบริษัท เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ จำกัด สนับสนุนของรางวัล รับชมภาพบรรยากาศได้ที่ Facebook/สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ

TAGS

ข่าวสารและกิจกรรม

เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา (24/03/2564) ศ.นพ.สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล นายกสมาคมฯ ให้เกียรติเป็นประธานในการมอบรางวัลชนะเลิศให้กับ ผู้ชนะเลิศการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ…
(25 กันยายน 2563) สถานศึกษาเครือข่ายกำลังนำเสนอสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการป้องกันเอชไอวีกลุ่มเยาวชนในสถานศึกษา ในการประชุมสรุปผลการดำเนินงาน สรุปประเด็…

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า