สาเหตุของประจำเดือนผิดปกติมีมากมาย ตั้งแต่ภาวะระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายผิดปกติจนถึงมีพยาธิสภาพที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของประจำ เดือน เช่นความเครียด ความวิตกกังวล เช่น ในช่วงใกล้สอบ ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายผิดปกติ มักพบในหญิงวัยเจริญพันธุ์อายุน้อยกว่า 35 ปี
- อาหาร การอดอาหาร น้ำหนักที่เพิ่ม หรือลดเร็วผิดปกติ ทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ
- การคุมกำเนิด ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด มีผลเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเพศในร่างกาย กดการทำงานของรังไข่
- เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก หรือ ไมโอมา (Myoma uteri) ซึ่งเป็นพยาธิสภาพ/ความผิดปกติที่กล้ามเนื้อมดลูก มีผลต่อการบีบตัวของมดลูก ทำให้ประจำเดือนมามาก มานานมีเลือดออกกะปริดกะปรอย ปวดหน่วงท้องได้
- ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก มักทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติ รบกวนระดับของฮอร์โมนเพศในร่างกาย
- กลุ่มอาการถุงน้ำหลายใบในรังไข่ พบได้ประมาณ 5-10% ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยเป็นภาวะที่เกิดจากมีฮอร์โมนเพศชายสูงเกินปกติ (แอนโดรเจน/Androgen ผู้หญิงปกติทุกคน ในร่างกายมีทั้งฮอร์โมนเพศชาย และเพศหญิง แต่มีปริมาณฮอร์โมนเพศชายน้อยมาก) ผู้ป่วยมักมีอาการขนดก ผิวมัน มีสิวมาก มีระดับฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล เกิดภาวะไม่ตกไข่ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ระยะห่างระหว่างรอบเดือนมากขึ้น
- การตั้งครรภ์ ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง จึงเกิดภาวะขาดประจำเดือน
- ภาวะรังไข่ล้มเหลวก่อนวัยอันควร เป็นความผิดปกติของการทำงานของรังไข่ ทำให้ไม่มีการตกไข่ จึงไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศได้ ทำให้ไม่มีประจำเดือน
ขอบคุณข้อมูลจาก108health
—————————-
ปรึกษาวางแผนครอบครัวอย่างมีคุณภาพได้ที่คลินิก สวท เวชกรรมทั่วประเทศ โทร 02-941-2320