fbpx
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

ปวดหลังช่วงมีประจำเดือน แบบไหนผิดปกติ

Profile portrait of a young woman at the desk with a laptop, stretching, backache position. Business concept photo, lifestyle

อาการ PMSหรืออาการก่อนมีประจำเดือนเป็นสิ่งที่ทรมานผู้หญิงทุกคนเป็นปกติ ซึ่งโดยปกติแล้วเราเองจะรู้สึกได้ถึงอาการปวดประจำเดือนที่เป็นอยู่ว่ามาก-น้อย ขนาดไหน ทว่าในเคสที่มีอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือนมาก ๆ ร่วมกับอาการเหล่านี้ถือว่าผิดปกติ และควรรีบไปพบสูตินรีแพทย์โดยด่วน

  • มีอาการปวดหลัง ลามมาที่เอว เชิงกราน ก้นกบ และร้าวลงขา
  • ปวดหลัง ปวดท้อง ในช่วงมีประจำเดือนมาก และเป็นการปวดหนัก ๆ ครั้งแรก ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยปวดแรงอย่างนี้เลย
  • อาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือน ก่อน หรืออาการปวดท้องประจำเดือนรุนแรงขึ้นในทุก ๆ เดือน
  • ปวดหลังหรือปวดท้องมากจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แม้กระทั่งกินยาแก้ปวดก็ยังไม่หาย
  • มีอาการปวดตลอดช่วงที่มีประจำเดือน
  • อาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือนยังคงไม่หาย แม้ประจำเดือนจะหมดไปแล้ว
  • ปวดหลังมากและประจำเดือนมาน้อยหรือมากผิดปกติ (เป็นประจำเดือน 2 วัน หรือเกิน 7 วัน)
  • ปวดหลังช่วงมีประจำเดือนพร้อมกับมีอาการตกขาวมาก ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
  • ปวดหลังระหว่างมีประจำเดือน ร่วมกับมีไข้สูง
  • ปวดหลังหรือท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งมากเป็นพิเศษ
  • ปวดหลังช่วงมีประจำเดือนและสังเกตเห็นหน้าท้องบวมโตผิดปกติ ร่วมกับคลำก้อนที่ท้องได้

หากมีอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือน ร่วมกับอาการผิดปกติเบื้องต้น แนะนำให้รีบไปพบสูตินรีแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะความผิดปกติดังกล่าวอาจเป็นผลจากความผิดปกติในช่องท้องส่วนล่าง (มดลูก, รังไข่, ปีกมดลูก?) เช่น ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในมดลูก(การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรือมีอาการอักเสบที่อุ้งเชิงกรานก็เป็นได้

วิธีแก้อาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือน

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างถูกสัดส่วน โดยควรรับประทานผัก-ผลไม้ให้มาก โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินบีและแมกนีเซียมสูง ลดอาหารเค็ม มัน รวมทั้งสารกระตุ้นอาการปวดอย่างเช่น กาแฟ ชา และแอลกอฮอล์
  • ดื่มน้ำอุ่นให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือจะดื่มเครื่องดื่มแก้ปวดประจำเดือนช่วยด้วยอีกทางก็ได้
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น หรืออาหารที่มีความเย็น
  • อาบน้ำอุ่น หรืออาจใช้แผ่นแปะชนิดร้อนแปะไว้ที่หลัง เพื่อให้ความร้อนช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึง ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะมีงานวิจัยที่เผยว่า การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนรวมทั้งอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือนได้
  • กินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวดประเภทไอบูโปรเฟน (ibuprofen) หรือยาแก้ปวดประจำเดือน เช่น พอนสแตน (Ponstan) ก็ได้ แต่ควรจะกินยาขนาด 250 มิลลิกรัมก็พอ และต้องกินหลังอาหารทันทีด้วย เนื่องจากยาแก้ปวดเหล่านี้มีฤทธิ์เป็นกรด
  • ผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยท่ายืดเหยียดร่างกาย หรือท่าโยคะแก้ปวดประจำเดือน
  • นอนให้ถูกท่า เป็นวิธีแก้ปวดหลังช่วงมีประจำเดือนที่ทำได้ง่าย ๆ แค่นอนตามนี้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ,โรงพยาบาลรามคำแหง,กระปุกดอทคอม,doctorsmithtv,โรงพยาบาลวิภาวดี,huffingtonpost,spinemd

TAGS

คลังความรู้

คำตอบ จริงแต่ไม่ 100% ถึงจะเป็นระยะปลอดภัย แต่ในกรณีที่เป็นผู้หญิงประจำเดือนมาไม่ตรง ไม่สม่ำเสมอ การตกไข่นั้นสามารถเลื่อนได้ ไม่เหมาะที่จะนับหน้า 7 หลัง 7 เพราะ…
คำตอบ ไม่จริง เพราะการหลั่งภายนอกสามารถมีโอกาสพลาดทำให้เกิดการท้องได้สูงถึง 20% เพราะในช่วงแรกที่มีอารมณ์ทางเพศจะมีการปล่อยสารคัดหลั่งจากต่อมลูกหมาก ต่อมอื่นๆ ท…

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า