fbpx
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

พ.ร.บ.คู่ชีวิตแตกต่างกับ สมรสเท่าเทียม อย่างไร

two young women at home, a couple of lesbian sitting in sofà in living room, reading books and having moments of relax, smiling african woman looking her girlfriend

ร้อนแรงอย่างต่อเนื่อง กับกระแส #ไม่เอาพ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่ถูกพูดถึงอย่างมาก หลังมีเสียงคัดค้านจากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ เพื่อเป็นกฎหมายรองรับการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวของกลุ่มหลากหลายทางเพศ โดยกระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นอย่างครอบคลุมในทุกมิติ ขณะที่วันถัดมา ร่างพระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียม ได้หยิบขึ้นมาให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาอีกครั้ง โดยล่าสุด ที่ประชุมรัฐสภาฯ มีมติรับหลักการทั้ง 4 ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำไปสู่การสมรสเท่าเทียมแล้ว ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลแพ่งและพาณิชย์ เสนอโดยพรรคก้าวไกล, ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต เสนอโดย ครม., ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลแพ่งและพาณิชย์เสนอโดย ครม. และ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต เสนอโดย พรรคประชาธิปัตย์

ทั้งนี้ สำหรับ พ.ร.บ.คู่ชีวิต และ สมรสเท่าเทียม ที่หลายคนกำลังพูดถึงอยู่ในขณะนี้นั้น แม้จะมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่ เพื่อคลายความสับสนเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คู่ชีวิตและสมรสเท่าเทียม คืออะไร ต่างกันยังไง เราขอพาทุกคนไปทำความรู้จักร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับให้มากขึ้นกัน

พ.ร.บ.คู่ชีวิต และ สมรสเท่าเทียม คืออะไร

พ.ร.บ. คู่ชีวิต คือ
พ.ร.บ.คู่ชีวิต หรือพระราชบัญญัติคู่ชีวิต เป็นร่างกฎหมายแยกที่ออกมาเพื่อรับรองสิทธิบุคคลเพศเดียวกันให้สามารถจดทะเบียนคู่ชีวิตได้ ทั้งนี้ คู่ชีวิตมีสิทธิบางประการเหมือนกับคู่สมรสชาย-หญิง เช่น สิทธิการรับบุตรบุญธรรม การรับมรดก แต่สถานะทางกฎหมายจะเป็น “คู่ชีวิต” ซึ่งส่งผลให้อาจไม่ได้รับสิทธิบางประการเทียบเท่าคู่สมรส

สมรสเท่าเทียม คือ
สมรสเท่าเทียม เป็นร่างกฎหมายที่พรรคก้าวไกล และคณะฯ ได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการร่างแก้ไข ปพพ. มาตรา 1448 และมาตราที่เกี่ยวข้องใน ปพพ. เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลเพศเดียวกันสามารถสมรสกันได้ตามกฎหมาย พร้อมมีสิทธิในการสมรสไม่ต่างจากคู่สมรสชายหญิง เช่น สิทธิในการหมั้นและสมรส สิทธิในการจัดการ ทรัพย์สินของคู่สมรส สิทธิในการเป็นทายาทโดยธรรม การรับบุตรบุญธรรม สิทธิในการใช้นามสกุล สิทธิในการเซ็นยินยอมในการรักษาพยาบาล สิทธิในมรดก เป็นต้น
จดทะเบียนสมรส

สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต 2565
ร่างกฎหมาย พ.ร.บ.คู่ชีวิต และ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีรายละเอียดดังนี้

ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ฉบับนี้ ให้สิทธิและหน้าที่คู่ชีวิต เช่น

  • หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
  • อำนาจจัดการแทนผู้เสียหายในคดีอาญาเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา
  • สิทธิรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน
  • สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม
  • สิทธิและหน้าที่ในการเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ หากอีกฝ่ายเป็นคนไร้ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
  • สิทธิเซ็นยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย
  • สิทธิจัดการศพ

สาระสำคัญ พ.ร.บ.คู่ชีวิต 11 ข้อ ได้แก่
1. คู่ชีวิต หมายถึง บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิด และได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ. นี้
2. กำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ. นี้
3. การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย รวมทั้งกำหนดบุคคลต้องห้ามไม่ให้จดทะเบียนคู่ชีวิต เช่น ทั้งสองคนเป็นญาติสืบสายโลหิตกัน เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา เป็นต้น
4. กรณีที่ผู้เยาว์จะจดทะเบียนคู่ชีวิต ต้องได้รับความยินยอมของบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือศาล และเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิตแล้วผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะ
5. กำหนดบทบัญญัติเพื่อรองรับลักษณะความสัมพันธ์ของคู่ชีวิต เช่น ต้องอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวและช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน
6. คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา และมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกับสามีหรือภริยาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป. วิ อาญา)
7. ทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต แบ่งเป็นสินส่วนตัวและทรัพย์สินร่วมกัน
8. การสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิต คู่ชีวิตย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย ศาลพิพากษาให้เพิกถอน หรือการเลิกการเป็นคู่ชีวิต รวมทั้งกำหนดเหตุฟ้องเลิกการเป็นคู่ชีวิต เช่น คู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันคู่ชีวิต ประพฤติชั่ว ทำร้าย ทรมานร่างกายหรือจิตใจ จงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี จดทะเบียนสมรส
9. บุตรบุญธรรม เมื่อคู่ชีวิตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขใน พ.ร.บ. นี้ และ ป.พ.พ. แล้ว สามารถรับบุตรบุญธรรมได้ รวมทั้งคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมของตนด้วยก็ได้
10. เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติใน ป.พ.พ. ว่าด้วยมรดก
11. กำหนดให้นำบทบัญญัติในป.พ.พ.ว่าด้วยคู่สมรสครอบครัวและบุตรบุญธรรมมาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลมในบางกรณี

ส่วนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้

      1. ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมี "คู่สมรส" หรือ "คู่ชีวิต" อยู่ไม่ได้
      2. กำหนดให้เหตุฟ้องหย่ารวมถึง กรณีสามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉัน "คู่ชีวิต"
      3. ให้สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพในกรณีหย่าหมดไป ถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่หรือจดทะเบียนคู่ชีวิต

      ทั้งนี้ สิทธิที่เกี่ยวข้องกับการเป็นคู่ชีวิตในกฎหมายฉบับอื่น ๆ จะมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป ภายหลังจากร่าง พ.ร.บ.นี้ มีผลบังคับใช้

พ.ร.บ.คู่ชีวิต กับ สมรสเท่าเทียม แตกต่างกันอย่างไร
หลังจาก ครม.ให้ความเห็นชอบ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ส่งผลให้โลกโซเชียลมีเดียมีการเปรียบเทียบ และกล่าวถึงการแก้ไขกฎหมายเพื่อความเท่าเทียมของคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยระบุว่า ร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับยังมีความไม่เท่าเทียมกัน ทั้งสิทธิและหน้าที่ของคู่รัก LGBTQ ซึ่งต่างกับคู่สมรสชายหญิงทั่วไปในหลายประเด็น

       อย่างไรก็ตามร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ยังไม่มีการบังคับใช้ทางกฎหมาย เนื่องจากจะต้องเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบต่อไป จึงมีโอกาสที่เนื้อหาสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะถูกปรับเปลี่ยนให้เกิดความเท่าเทียมของคู่สมรสเพศเดียวกันมากขึ้น
 

ขอบคุณข้อมูลจาก : Kapook.com, parliament.go.th, senate.go.th, เฟซบุ๊ก สมรสเท่าเทียม Marriage Equality, ilaw.or.th

TAGS

คลังความรู้

ช่วยให้คู่สมรสที่พึ่งแต่งงานกันได้มีโอกาศในการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วทกันก่อนทีลูกเป็นการลดปัญหาเรื่องการหย่าร้าง ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดี ลูกมีโอกาสได้รับการศึก…
ช่วงโควิด-19โรงพยาบาลรัฐไม่เปิดรับฝากครรภ์ มีที่ไหนสามารถใช้สิทธิเบิกตรงเพื่อฝากครรภ์ได้บ้าง? หมอ ในช่วงสถานการณ์โควิด อาจมีการรับฝากครรภ์ที่จำนวนจำกัดเพื่อที่จ…

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า