fbpx
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

โครงการตอบสนองความต้องการสุขภาพทางเพศ และอนามัยการเจริญพันธุ์ที่สำคัญของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและดินถล่มในภาคเหนือของประเทศไทย

หญิงสาวชาวพม่า

เป็นระยะเวลากว่า 2 เดือนแล้วที่ซากปรักหักพัง  กองดิน ยังมีให้เห็นอยู่เต็มพื้นที่จุดขายสินค้าชื่อดังชายแดนไทย-เมียนมา ในอำเภอแม่สาย  จ.เชียงราย หลังจากได้รับผลกระทบจากอิทธิพลพายุยางิ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม ดินโคลนถล่มอย่างรุนแรง บ้านเรือนริมแม่น้ำสายถูกพัดหาย เสียหายหลายร้อยหลังคาเรือน แม้จะผ่านเหตุการณ์น้ำท่วมมาเป็นระยะเวลานาน แต่สภาพบ้านเรือนที่อยู่อาศัยยังได้รับผลกระทบอยากหนัก  หลายหน่วยงานระดมกำลังลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือเต็มสูบ เช่นเดียวกับ สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งได้ระดมทีมลงพื้นที่ให้การช่วยด้านสุขภาพอนามัย อนามัยแม่และเด็ก โดยเฉพาะการช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนกับแรงงานชาวพม่าที่เข้าถึงการช่วยเหลือยากลำบาก  

การทำงาน โครงการตอบสนองความต้องการสุขภาพทางเพศ และอนามัยการเจริญพันธุ์ที่สำคัญของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและดินถล่มในภาคเหนือของประเทศไทย (Meeting the essential SRH needs of communities affected by floods and landslides in Northern Thailand) ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สหพันธ์วางแผนครอบครัวระหว่างประเทศ หรือ IPPF

คุณกรณ์รวี แสนดวง ผู้จัดการโครงการ เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มเริ่มต้นของโครงการนี้ทางสหพันธ์วางแผนครอบครัวระหว่างประเทศ หรือ IPPF  มีโอกาสได้มาประชุมร่วมกับผู้อำนวยการ สมาคมฯ ในกรุงเทพมหานคร ประจวบเหมาะกับจังหวัดในพื้นที่ทางภาคเหนือกำลังประสบปัญหาน้ำท่วม โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอย่างรุนแรง ผู้บริหารทั้ง 2 ท่านและทีม จึงตัดสินใจเดินทางลงพื้นที่ และพบว่ามีประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมากและยังขาดโอกาสในการเข้าถึงสิทธิในการรักษาด้านต่างๆ โดยเฉพาะเด็ก สตรี ประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และแรงงานข้ามชาติ จากจุดนี้เองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการนี้

เป้าหมายสำคัญของโครงการนี้

โครงการนี้เราทำขึ้นมาเพื่อให้การช่วยเหลือด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ ป้องกันการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยของมารดาและทารกแรกเกิด ป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม ป้องกันและจัดการผลที่ตามมาของความรุนแรงทางเพศ ลดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์รวมถึงการแพร่เชื้อเอชไอวี ซึ่งรวมไปถึงการให้มีแผนการให้บริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์แบบครบวงจร มีเป้าหมายที่จะเข้าถึงประชาชนทุกเชื้อชาติ โดยไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ จำนวน 7,000 คน  โดยมีระยะเวลาในการทำงานโดยประมาณ 3 เดือนกว่าๆ (9 กันยายน – 8 ธันวาคม 25672567)

การออกหน่วยสุขภาพเคลื่อนที่ให้บริการอะไรบ้าง

ในหน่วยตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ให้บริการให้ความรู้  แจกสื่อแผ่นพับให้บริการคัดกรองตรวจสุขภาพเบื้องต้น ตรวจคัดกรองสุขภาพทางเพศและสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ตามวัตถุประสงค์ของ MISP

ให้บริการให้คำปรึกษา ดูแลรักษาเบื้องต้นและส่งต่อเข้าสู่ระบบการรักษาตามสิทธิ์ (กรณีเสี่ยง)

ให้บริการจัดแจกถุงยางอนามัย ยากินคุมกำเนิด สนับสนุนยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด ห่วงอนามัยตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตามความสมัครใจ(ชุดตรวจ Test-Kit) และประสานส่งต่อเข้ารับการรักษาตามสิทธิ์ (กรณีเสี่ยง)

มอบชุดสุขอนามัยให้กับผู้ประสบภัย

ชุดสุขอนามัยที่โครงการฯแจกจ่ายให้กับผู้สูงอายุ ครอบครัวเด็กแรกเกิด และผู้ประสบภัยประกอบด้วย ผ้าอนามัย ชุดชั้นในชายหญิง ผ้าเช็ดตัว ถุงยางอนามัย ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ (สำหรับผู้สูงอายุ) ข้าวสาร และข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นในการดำรงชีพภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินนี้

ความยากลำบากที่เต็มไปด้วยความสุข

หากมองสิ่งที่เป็นปัญหาสำคัญของการทำงานโครงการนี้คือการสื่อสารภาษาพม่า และภาษาชนเผ่าต่างๆ ซึ่งโชคดีที่ทีมโครงการ สวท แม่สอด จ.ตาก สามารถสื่อสารภาษาพม่าและภาษาท้องถิ่นได้ ช่วยให้การลงพื้นที่ในแต่ละครั้งได้รับผลตอบรับที่ดีมาก นอกจากนี้แล้วการลงพื้นที่ยังทำได้ยาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภูเขาที่ดินโคลนถล่มต้องรอให้สถานการณ์คลี่คลายจึงสามารถเข้าไปในพื้นที่ได้ เพราะเป็นเรื่องของความปลอดภัย แต่ในความอยากลำบากนี้ก็เต็มไปด้วยความภาคภูมิใจในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพราะเราได้ช่วยเหลือคนที่กำลังทุกข์ยากให้ได้มีความหวังให้ได้มีข้าวกิน ให้ได้มีสุขภาพอนามัยที่ดีจะได้มีแรงกายแรงใจออกไปเผชิญกับสิ่งที่ตนเองกำลังประสบอยู่ให้ผ่านพ้นไป ทุกคนที่มาช่วยในโครงการนี้ต่างอิ่มใจ แววตาการช่วยเหลือเต็มไปด้วยความภาคภูมิใจ

คุณสนธยา  รัตตนวานิชยกุล  ประธานชมรมกรุณาจิตอาสา อ. แม่สาย จ. เชียงราย ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในพื้นที่ที่ให้การช่วยเหลือแรงงงานข้ามชาติชาวพม่า ด้วยเงินส่วนตัวของคนในกลุ่ม  เล่าให้ฟังถึงความยากลำบากในการใช้ชีวิตของแรงงานข้ามชาติชาวพม่าในพื้นที่ ว่า ในพื้นที่มีแรงงานต่างด้าวที่ลงทะเบียนทำงานในจังหวัดเชียงรายจำนวน 31,344 คน (รายงานสถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดเชียงราย กรกฎาคม-กันยายน 2567) ส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในพื้นที่แม่สาย ในช่วงน้ำท่วมมีแรงงานชาวพม่าที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมดินโคลนถล่มเข้ามาพักในศาลาวัดแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประมาณ 150 ครัวเรือน ยังไม่รวมกับจุดอื่นๆ ส่วนใหญ่บ้านพักที่เช่าไว้ถูกน้ำท่วม ข้าวของเครื่องใช้เครื่องนุ่มห่มเสียหายเกือบหมด ไม่มีที่อยู่อาศัย ทางชมรมฯจึงได้ประสานมาที่วัดและได้ความอนุเคราะห์เรื่องสถานที่ โดยการช่วยเหลือของศูนย์จะเป็นการช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และอาหารตามที่ได้รับการสนับสนุนมาจากหลายๆหน่วยงาน

การออกหน่วยตรวจสุขภาพช่วยต่อเติมชีวิต

แรงงานงานชาวพม่าเหล่านี้น่าเห็นใจมาก เพราะเข้าไม่ถึงสิทธิการรักษาหรือการช่วยเหลือต่างๆที่หลายหน่วยงานมาช่วยเหลือ  การออกหน่วยตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ของสมาคมฯจึงมีประโยชน์กับผู้ประสบภัยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติชาวพม่า และกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาและการช่วยเหลือได้ บางคนเข้าไปเก็บของในบ้านที่ถูกน้ำท่วมถูกงูพิษกัดก็ไม่กล้าไปโรงพยาบาล เพราะไม่มีค่ารักษา ปล่อยให้บวมซึ่งก็อักเสบไปแล้วเราต้องช่วยกันออกเงินและพาไปโรงพยาบาล  บางคนป่วยน้ำกัดเท้า เชื้อรา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ท้องเสีย  การออกหน่วยตรวจสุขภาพจึงเหมือนเป็นการต่อเติมชีวิตของกลุ่มคนเหล่านี้ที่กำลังลำบาก ให้ได้มีแรงกายได้ต่อสู้ชีวิตกันต่อไป

มองการช่วยเหลือเป็นเรื่องของสิทธิมนุษย์ชน

การที่เราช่วยแรงงานชาวพม่า มีคนไทยหลายคนมองว่าคนไทยก็ลำบากทำมั้ยไม่ไปช่วยเค้าก่อน ซึ่งทางเราโดนต่อว่าเป็นประจำ จริงๆแล้วอยากให้เข้าใจก่อนว่า การช่วยเหลือผู้ประสบภัยคนไทยจะได้รับการช่วยเหลือก่อนเสมอ เนื่องจากมีข้อมูลในระบบราชการ และการเข้าถึงสิทธิการช่วยเหลือต่างๆทำง่ายกว่ามาก   แตกต่างจากแรงงานชาวพม่า เราเองอยากให้มองคนที่คุณค่าความเป็นคนคนเท่ากัน การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันโดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติเป็นเรื่องที่ทุกคนควรช่วยกันไม่มีประชากรเบอร์หนึ่งหรือสอง สิ่งที่เราทำเป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชน วันนี้จะเห็นได้ว่ามีแรงงานชาวพม่ามาเข้ารับบริการด้านสุขภาพเป็นจำนวนมาก สะท้อนให้เหฯว่าเค้าเหล่านี้ลำบากจริงๆ

ช่วงน้ำท่วมเป็นช่วงที่ลำบากที่สุดของชีวิต

หญิงสาวชาวพม่า วัย 28 ปี ซึ่งเข้ามาทำงานในอำเภอแม่สายกว่า 5 ปี และได้มารับบริการหน่วยตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ของ สวท พร้อมลูกเล็ก ในพื้นที่วัดแม่สาย เล่าให้ฟังว่า  ในช่วงที่น้ำท่วมบ้านพักเป็นช่วงเวลาที่ตนเองและครอบครัวลำบากมาก เพราะไม่มีงานทำ ไม่มีรายได้ สถานประกอบการร้านค้าต่างๆปิดหมด บ้านเช่าถูกน้ำท่วม ยิ่งลำบาก โดยเฉพาะการเลี้ยงดูลูกในช่วงนี้เป็นไปอยากทุลักทุเล เพราะแรงงานอย่างเราเข้าไม่ถึงสิทธิการรักษา หรือหากต้องไปโรงพยาบาลเราเองก็ไม่มีเงิน อยากขอบคุณที่มาตรวจสุขภาพให้กับพวกเราในครั้งนี้ และขอบคุณมากๆที่ให้อุปกรณ์ในการดูแลลูกซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นกับเราอย่างมาก

ทราบซึ่งใจมากที่ได้รับสิ่งดีๆ

จะอี้ หนุ่มชาวพม่าจากท่าขี้เหล็ก วัย 54 ปี เข้ามาทำงานในแม่สายกว่า 20 ปี ลูกจ้างร้านอาหารในพื้นที่บอกกับเราว่า ตอนนี้ลำบากมาก ต้องออกไปรับจ้างตักดินที่มาพร้อมกับน้ำ ได้เงินค่าจ้างมาไม่มาก เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็ไม่กล้าไปโรงพยาบาลเพราะไม่มีเงินค่ารักษา หวังว่าสถานการณ์ต่างๆจะดีขึ้น วันนี้ไม่สบายเป็นไข้ตัวร้อน เลยเดินทางมาที่หน่วยตรวจสุขภาพที่วัดแม่สาย ทางเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสุขภาพร่างกาย และจัดยารักษาให้กลับไปกินที่บ้าน รู้สึกทราบซึ่งใจมากที่ได้รับสิ่งดีๆในครั้งนี้   การได้ลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้เห็นทีมของ  สวท ทุกคน เต็มที่กับการทำงานอยากมาก แม้จะแลกมาด้วยความเหน็ดเหนื่อยก็ตามแต่มันเต็มไปด้วยความสุขที่ได้ทำและความภาคภูมิใจ  แม้จะมีดราม่าต่างๆมากมาย แต่เราก็อยากให้ทุกคนเห็นความสำคัญของสิทธิความเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดหรืออยู่ในสถานะใดในสังคม ทุกคนล้วนแล้วแต่ควรได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกันอย่างที่มนุษย์คนหนึ่งพึงจะได้รับ การลงออกหน่วยตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ในครั้งนี้ นับเป็นอีกหนึ่งภารกิจที่ช่วยส่งต่อการช่วยเหลือให้กับเพื่อนมนุษย์ ด้านสิทธิสิทธิมนุษยชน โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อเชื้อชาติ ศาสนา และชาติพันธุ์ ให้ผู้คนที่ได้รับความเดือนร้อนได้ผ่อนคลายจากความทุกข์ยาก ได้มีชีวิตและความหวัง  สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ขอขอบคุณสหพันธ์วางแผนครอบครัวระหว่างประเทศ หรือ IPPF ที่เล็งเห็นความสำคัญของการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เราขอเป็นกำลังใจให้ผู้ได้รับผลกระทบทุกคนและเจ้าหน้าที่ที่ลงพื้นที่ปฏิบัติงานช่วยเหลือทุกคน สังคมดีเริ่มที่เราลงมือทำ

โครงการปัจจุบัน

สวท ยังคงดำเนินนโยบายการให้โอกาสการเข้าถึงบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ของกลุ่มประชากรทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง
สวท มีความต้องการให้เยาวชนในสถานศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์ มีพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอชไอวี

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า