“โครงการส่งเสริมการเข้าถึงความรู้เรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์ โดยความร่วมมือของสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ และ บริษัท ไบเออร์ไทย (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นการสื่อสารและจัดกิจกรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1.กิจกรรม Facebook Live รายการ TEEN STATION 2.การจัดทำ INFOGRAPHIC เรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์ และ 3.การจัดกิจกรรมอบรมตัวแทนเยาวชน
โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ เพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงอนามัยการเจริญพันธุ์ การวางแผนครอบครัว และการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม กลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนจากสถาบันการศึกษาเครือข่าย และเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ทั่วประเทศ มีระยะเวลาในการดำเนินงานตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2564 – มิถุนายน พ.ศ. 2565 ซึ่งสามารถสรุปผลการดำเนินงานเป็นรายกิจกรรมได้ดังนี้1.กิจกรรม Facebook Live รายการ TEEN STATION ดำเนินงานตามแผนทั้งหมด 6 ครั้ง เผยแพร่ผ่านเพจสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ยอดรวมการเข้าถึงทั้งหมด 584,613 คน ยอดวิวรวม 215,344 ครั้ง การมีส่วนร่วม (Engagement) จำนวน 5,164 ตอนที่มีผู้ชมมากที่สุดคือ ตอนที่ 6 ความสำคัญของการคุมกำเนิด จำนวน 53,047 ครั้ง ตอนที่ 1 อีหยั่งวะอนามัยการเจริญพันธุ์ จำนวน 46,662 ครั้ง ตอนที่ 5 อยากสร้างครอบครัวต้องมีอะไร เงินหรือความรัก จำนวน 42,302 ครั้ง ตอนที่ 2 เมื่อเป็นวัยรุ่นอะไรในร่างกายเปลี่ยนไปบ้าง จำนวน 25,209 ครั้ง ตอนที่ 4 เปรียบเทียบประสิทธิภาพการคุมกำเนิด จำนวน 24,573 ครั้ง และ ตอนที่ 3 เปลี่ยนความเชื่อเรื่องเพศแบบผิด ๆ จำนวน 23,551 ครั้ง (เก็บข้อมูล 30 พฤษภาคม 2565)
ตารางแสดงผลการดำเนินงาน Facebook Live
2. การจัดทำ INFOGRAPHIC เรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์ ดำเนินงานตามแผนทั้งหมด 20 เรื่อง เผยแพร่ผ่านเพจสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายรวม 2,591,582 คน มีการคลิกภาพจำนวน 216,143 ครั้ง มีEngagement จำนวน 20,680 ครั้ง โดยเนื้อหาที่มียอดการเข้าถึงมากที่สุดคือ การทำหมันใน ชาย/หญิง จำนวน 288,753 คน เนื้อหาที่มีการ Click มากที่สุด คือเรื่อง การทำหมันใน ชาย/หญิง จำนวน 28,905 ครั้ง และเนื้อหาที่มี Engagement มากที่สุดคือ เรื่อง อนามัยการเจริญพันธุ์ สำคัญกับมนุษย์ยังไง จำนวน 3,603 ครั้ง
ตารางแสดงผลการดำเนินงาน INFOGRAPHIC
ตารางแสดงภาพรวมกิจกรรมที่1 Facebook Live และกิจกรรมที่2 Info graphic
3.การจัดกิจกรรมอบรมตัวแทนเยาวชน โดยการจัดกิจกรรมอบรมภายใต้โครงการนี้แบ่งการดำเนินกิจกรรมออกเป็น 2 ครั้ง
3.1 ครั้งที่ 1 การอบรม“รู้จริงมั้ยอนามัยการเจริญพันธุ์” เป็นการอบรมผ่านระบบ Zoom มีจำนวนผู้เข้าร่วม 342 คน จาก 29 สถานศึกษา มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ จำนวน 200 คนจาก 10 สถานศึกษา
3.2 การอบรมครั้งที่ 2 “รู้แล้วบอกต่อ!! อนามัยการเจริญพันธุ์”อบรมผ่านระบบ Zoom มีจำนวนผู้เข้าร่วม 73 คน จาก 10 สถานศึกษา
ตารางแสดงผลการดำเนินงานกิจกรรมอบรมตัวแทนเยาวชน
4.การขยายผลจากสถานศึกษาเครือข่าย มีสถานศึกษาขยายผลการจัดกิจกรรมอบรมจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยพาณิชการราชดำเนิน วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ วิทยาลัยเทคโนโลยีมีนบุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีเกษมสันต์บริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเจริญพัฒนาบริหารธุรกิจ และ โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ โดยกิจกรรมดำเนินงานส่วนใหญ่เป็นการจัดกิจกรรมอบรม การผลิตสื่อคลิปความรู้ และการออกบูธ
นอกจากนี้แล้ว สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯยังได้ร่วมมือกับสถานศึกษาเครือข่ายจัดกิจกรรมนำสื่อที่ผลิตขึ้นภายใต้โครงการนี้ นำไปขยายผลต่อในสถานศึกษาเครือข่ายจำนวน 6 แห่ง เข้าถึงเยาวชนอย่างมีคุณภาพ 380 คน
ข้อเสนอแนะ
กิจกรรมให้ความรู้ภายใต้โครงการนี้เป็นกิจกรรมออนไลน์ เนื่องจากเป็นช่วงที่ไวรัสโคโรน่า
(โควิด -19) กำลังแพร่ระบาด การจัดกิจกรรมทั้งหมดจึงถูกปรับให้เข้ากับสถานการณ์ ซึ่งผู้จัดทำได้รวบรวมข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปใช้พัฒนาการจัดกิจกรรมในอนาคต ดังนี้
1.กิจกรรม Facebook Live TEEN STATION แม้ว่ายอดวิวจะมีจำนวนมาก แต่ยังขาดการมีส่วนร่วม Engagement เช่น การแชร์ คอมเมน หรือการไลค์ สาเหตุสำคัญมาจากประเด็นการสื่อสารเป็นเรื่องที่ประชากรในประเทศยังอายไม่กล้าถามตรงๆ จึงนิยมถามในกล่องข้อความ ประกอบกับรูปแบบรายการเป็นการให้ความรู้ที่เน้นความน่าเชื่อถือ การมีส่วนร่วมจึงน้อย ข้อเสนอแนะ คือปรับรูปแบบการนำเสนอที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น เช่น ผลิตคลิปที่สนุกได้สาระ ซึ่งจำเป็นต้องร่วมมือ (Corllab) กับ You tuber หรือ Influencer เพื่อสร้างความน่าสนใจช่วยให้การเข้าถึงนั้นกว้างขึ้น ลึกขึ้น
2. Infographic เนื้อหาด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ จะสังเกตได้ว่า Engagement ของ Infographic จะสูงกว่าเนื้อหาที่เป็น Live ค่อนข้างมาก เนื่องจากเนื้อหาถูกย่อยมาให้เข้าใจง่าย การแชร์ การกดไลค์จึงสูงกว่า Live ผู้จัดทำมีข้อเสนอแนะเพื่อให้ Infographic น่าสนใจมากขึ้นคือ สร้างความร่วมมือกับศิลปินที่เป็นนักวาด สร้างสรรค์ผลงานให้น่าสนใจมากขึ้น ตรงกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายอย่างรู้
3. กิจกรรมการอบรมผ่านระบบ Zoom กิจกรรมการอบรมภายใต้โครงการนี้ ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากรูปแบบของกิจกรรมน่าสนใจ มีของรางวัลแจก ระยะเวลาการให้ความรู้ไม่นาน แต่ความยากของกิจกรรมนี้คือ จัดอบรมในช่วงที่สถานศึกษาปิดภาคเรียน ประกอบกับกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เรียนออนไลน์ จึงทำให้การเชิญชวนนักเรียนเข้าร่วมอบรมทำได้ค่อนข้างยากกว่าสถานการณ์ปกติ ข้อเสนอแนะคือ การกำหนดระยะเวลาการจัดกิจกรรมต้องสอดคล้องกับช่วงเวลาที่สถานศึกษาเปิดทำการ