โครงการส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อนามัยการเจริญพันธุ์และการดูแลสุขภาพตนเองในกลุ่มเกษตรกรความร่วมมือของ สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ และ บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด” หรือ GROWTH Grow Together Healthier เป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์มุ่งส่งเสริมความรู้ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ การวางแผนครอบครัว การใช้เวชภัณฑ์การคุมกำเนิดที่ถูกต้อง และการดูแลสุขอนามัย มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกร มีระยะเวลาในการดำเนินงาน 6 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมานั้นสามารถเข้าถึงเกษตรกรจำนวน 1,753 คน ผ่านการจัดกิจกรรมจำนวน
13 ครั้ง ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสกลนคร จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดสุโขทัย จังหวัดแพร่ และจังหวัดลำปาง
ผลการประเมิน 6 ด้าน มีผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 1,533 คน (คิดเป็นร้อยละ 87.5) ของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก ( เนื้อหาอยู่ในเล่มรายงานผลการประเมินความพึงพอใจ )
จากตาราง พบว่า ผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อนามัยการเจริญพันธุ์และการดูแลสุขภาพตนเองในกลุ่มเกษตรกรไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก
ทุกรายการประเมิน และภาพรวม มีระดับความพึงพอใจมาก ( = 4.33) ทั้งนี้ มีระดับความพึงพอใจ โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ดังนี้
ลำดับที่ 1 วิทยากรมีวิธีการถ่ายทอด/ให้ความรู้ได้น่าสนใจและเข้าใจง่าย ( = 4.42)
ลำดับที่ 2 สาระความรู้ที่ได้รับจากวิทยากรมีประโยชน์ ( = 4.39)
ลำดับที่ 3 ท่านได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการคุมกำเนิดและวางแผนครอบครัว ( = 4.38)
ผลการดำเนินงานช่องทางการติดต่อสื่อสาร Line Official Account โดยใช้ชื่อ GROWTH @grow_th มีเกษตรกรเข้าร่วมเป็นสมาชิกจำนวน 59 คน มีการถามตอบทักทาย 16 คน ไม่มีการถามปัญหาสุขภาพด้านอนามัยการเจริญพันธุ์
นอกจากนี้และ ในโครงการได้ผลิตสื่อเพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรม ประกอบด้วย เอกสารพกพาขนาด A4 เรื่องการวางแผนครอบครัว หมวกกันแดด เสื้อกันแดด กระติกน้ำ กระเป๋าผ้าแคนวาส และชุดนิทรรศการวางแผนครอบครัว
ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการในอนาคต คณะทำงานมีข้อเสนอแนะ ถึงแนวทางในการจัดกิจกรรมโครงการ GROWTH ในอนาคต ไว้ดังนี้
1) ด้านสถานที่ สถานที่ที่ใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับรูปแบบในการจัดกิจกรรม และเหมาะสมกับจำนวนของเกษตรกร ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้ของเกษตรกรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2) ด้านระบบการลงทะเบียน การลงทะเบียนควรมีการสื่อสารภายในให้มากขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้การทำงานนั้นสอดประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เกษตรกรไม่สับสน พร้อมกับพัฒนาระบบการลงทะเบียนแบบดิจิตอล
3) ด้านโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ ระบบเสียงถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการจัดกิจกรรมให้ความรู้ ดังนั้นระบบเสียงในการจัดงานต้องครอบคลุม ชัดเจน ไมค์ควรมีระบบปรับระดับเสียงเป็นรายบุคคล เพราะระดับเสียงของแต่ละคนไม่เท่ากัน จึงจำเป็นต้องมีผู้ควบคุมเสียงที่พร้อมจะแก้ปัญหาระบบเสียงที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
4) ด้านสภาพอากาศ อากาศมีผลต่อการเรียนรู้ของเกษตรกร ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มระบบทำความเย็น เช่น พัดลมให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น
5) ด้านของรางวัลและการจับฉลาก การดำเนินงานโครงการในอนาคตหากมีการจับรางวัล จำเป็นที่จะต้องเพิ่มรางวัลสำหรับแจกกลุ่มเป้าหมายทุกคนที่เข้าร่วมงานหลังจบกิจกรรม นอกเหนือจากที่ใช้จับฉลาก เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงรักษาความรู้สึกของผู้เข้าร่วมงาน
6) ด้านกิจกรรมสันทนาการ กิจกรรมสันทนาการไม่ควรใช้เวลานานจนเกินไป ควรใช้เวลาสั้น กระชับ และเหมาะสมกับวัยของกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้แล้วไม่ควรทำกิจกรรมซ้ำซ้อนกัน เพื่อให้เกษตรกรไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับการทำกิจกรรมที่มากเกินไป