fbpx
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

ไปฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี

Happy couple smiling after find out positive pregnancy test in bedroom

เชื่อว่าคุณแม่มือใหม่หลายๆ คน มักกังวลว่าหลังจากตั้งครรภ์แล้วเราควรทำอะไรก่อนหลังดี การฝากครรภ์จำเป็นหรือไม่ การดูแลรักษาสุขภาพของครรภ์ควรทำแบบไหน

ทำไมต้องฝากครรภ์

เพราะการดูแลรักษาสุขภาพของครรภ์ตลอดระยะเวลา 9 เดือน กว่าจะคลอด จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดกับคุณหมอ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งมีประโยชน์ต่อแม่และเด็กจะเกิดใหม่ด้วย

ฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี?

จริงๆ ไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนว่า คุณแม่ควรไปฝากครรภ์เมื่อไหร่ คุณแม่อาจไปฝากครรภ์ทันทีหลังตรวจพบว่าตั้งครรภ์ หรือจะรออีกซักหน่อยก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่การฝากครรภ์ครั้งแรกจะอยู่ในช่วง 6-12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ถ้าคุณแม่ท่านไหนที่มีความเสี่ยง เช่นภาวะแท้งเป็นอาจิณ โรคประจำตัว อาจนัดฝากครรภ์เร็วกว่านี้ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน

ฝากครรภ์ที่ไหนดี

สำหรับฝากครรภ์ควรเลือกฝากครรภ์ ในสถานพยาบาลที่มีความสะดวกในการเดินทาง แพทย์หรือพยาบาลฝากครรภ์มีความเชี่ยวชาญ มีอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่พร้อมในการดูแล มีมาตรฐานการบริการที่ดี ซึ่งค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ก็แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละครอบครัว

ฝากครรภ์ทำอะไรบ้าง

การไปฝากครรภ์ครั้งแรก อาจใช้เวลานานกว่าครั้ง โดยแพทย์ทำการ ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอาจต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ เพิ่มเติม โดยทั่วไป สิ่งที่แพทย์มักจะทำคือ

1.ตรวจยืนยันการตั้งครรภ์ โดยอาจตรวจปัสสาวะ หรือเจาะเลือด หรือการทำอัลตร้าซาวด์อัลตร้าซาวด์ อาจจะเป็นการอัลตร้าซาวด์ผ่านช่องคลอด หรือผ่านทางหน้าท้องก็ได้ หลักๆ คือเผื่อดูทารก วัดขนาดอายุครรภ์ ตรวจสุขภาพทารกโดยทั่วไป เช่น การเต้นของหัวใจ เป็นต้น

2.คำนวณอายุครรภ์ และวันกำหนดคลอด โดยปกติ แพทย์จะใช้วันแรกของประจำเดือนครั้งล่าสุด มาคำนวณเพื่อหาอายุครรภ์ และวันกำหนดคลอด

3.ซักประวัติ โรคประจำตัว ประวัติในอดีต ประวัติการตั้งครรภ์ครั้งก่อนหน้า เพื่อดูว่าคุณมีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ครั้งนี้หรือไม่

4.ตรวจร่างกาย วัดน้ำหนัก ส่วนสูง ความดันโลหิต เพื่อใช้ในการติดตามตลอดการตั้งครรภ์ แพทย์อาจตรวจร่างกายโดยทั่วไป ตรวจภายใน หรือตรวจมะเร็งปากมดลูกให้คุณ

5.ตรวจเลือด แพทย์อาจตรวจเลือดเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ ตรวจความเข้มข้นของเลือด ตรวจการติดการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ เป็นต้น

การฝากท้องครั้งนี้แพทย์อาจให้วิตามินบำรุงมาเพิ่ม เช่น กรดโฟลิค หากคุณแม่ทาน Prenatal vitamins อยู่แล้ว อาจไม่จำเป็นต้องกินโฟลิคเพิ่ม อาจแจ้งหมอเพื่อให้ทราบตอนฝากครรภ์

ต้องไปพบแพทย์บ่อยแค่ไหน

  • อายุครรภ์ 1-32 สัปดาห์ พบแพทย์ทุก 4 สัปดาห์
  • อายุครรภ์ 32-36 สัปดาห์ พบแพทย์ทุก 2 สัปดาห์
  • อายุครรภ์มากกว่า 36 สัปดาห์ พบแพทย์ทุกอาทิตย์จนคลอด

ระหว่างฝากท้องต้องปฎิบัติตัวอย่างไร?

1.หยุดดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือการใช้สารเสพติด ทั้งหมด

2. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด

3. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ หรือกิจกรรมผาดโผนที่มีความเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุ

4. หากคุณยังไม่ได้เริ่มกิน Prenatal vitamins ให้เริ่มกินทันที โดยเลือกวิตามินที่มีส่วนประกอบของกรดโฟลิค 400-800 ไมโครกรัมต่อวัน และมีส่วนผสมของ DHA 200-500 มิลลิกรัมต่อวัน

5. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงของดิบ อาหารไม่สุก อาหารหมักดอง

6. ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ

ขอบคุณข้อมูลจากรายการรั้วรอบครอบครัวปี 3 , และ drnoithefamily.com

TAGS

คลังความรู้

คอลัมน์พันธกิจผลิตผลเกษตรกรไทยจำเป็นต้องเรียนรู้อนามัยการเจริญพันธุ์มั้ย? เกษตรกรนับได้ว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเป็นอย่างมาก จากข้อมูลการทำส…
ครอบครัวที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนก่อนตั้งครรภ์ จะมีโอกาสให้กำเนิดลูกน้อยที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ซึ่งต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณพ่อและคุณแม่ควรคำนึงและไตร่ตรองให้รอบคอ…

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า