fbpx
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

6 วิธีป้องกันตัวเองจากโรคโควิด-19 ด้วย 6 Safety FERS

ART001

สถานการณ์หัวเลี้ยวหัวต่อหรือเวลาทอง (Golden period) ที่คนไทยเราจะช่วยกันลดการระบาดในประเทศให้ช้าลงเพื่อให้ระบบดูแล

รักษาโรครับมือทัน เราทุกคนจึงมีหน้าที่สำคัญอยู่ 2 อย่าง คือ ลดการรับเชื้อโรคและลดการแพร่เชื้อโรค โดยมาตรการป้องกันการระบาดของโรคที่สำคัญช่วงนี้เพื่อ “ลดการแพร่เชื้อ” ก็คือ รักษาระยะห่างทางสังคม หรือ Social distancing

นพ.พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เลขาธิการสมาคมเวชกรรมไทย สรุปรวมเป็นสูตรง่ายๆ “6 Safety FERS” หรือทศปฏิบัติจัดการโรคโควิด-19 เป็น 10 วิธี การจัดการชีวิตประจำวันของเราให้เรา ปลอดโรค ปลอดภัย ดังนี้

1.การลดการสัมผัสเชื้อโรค” ด้วย 6 Safety คือ”กินอย่างปลอดภัย” (Food safety) ก็กินสุก อุ่นร้อน ปรุงใหม่ ใช้ภาชนะแยกเฉพาะ ซื้อจากร้านที่ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร

2.ล้างมือให้ปลอดโรค” (Hand safety) ล้างบ่อยๆ ด้วยน้ำประปากับสบู่ นานอย่างน้อย 20 วินาที (ร้องเพลงช้างช้างช้าง 2 รอบ) ถ้าไม่มีใช้แอลกอฮอล์เจลเข้มข้นอย่างน้อย 70% ล้างก่อนกินหลังกินอาหาร ก่อนเข้าบ้าน ก่อนและหลังสัมผัสใบหน้า

3.ล้างผักผลไม้ถูกวิธี” (Fruit safety) เปิดก๊อกน้ำไหล เกิน 5 นาที หรือล้างด้วยการแช่เบคกิ้งโซดา หรือแช่น้ำด่างทับทิม ก่อนกินหรือปอกเปลือก หรือก่อนแช่ตู้เย็น

4.สวมหน้ากากเหมาะสม” (Mask safety) คนปกติทั่วไปใส่หน้ากากผ้าได้ ผู้ป่วยหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วไปใส่หน้ากากอนามัยผ่าตัดถ้าต้องดูแลผู้เสี่ยง/ป่วยโควิด-19 หรือตรวจเชื้อให้ใส่หน้ากากเอ็น-95 ถ้าทำหัตถการใกล้ชิดให้ใส่เกราะบังหน้าและชุดพีพีอีครบชุด

5.ลดละเลิกหลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง (Activity safety) เรียกว่า 5 ล. ครับ คือ ลดกิจกรรมเสี่ยง ละเว้นพฤติกรรมเสี่ยง เลิกไปพื้นที่เสี่ยง หลีกกลุ่มคนเสี่ยง และเลี่ยงการสัมผัสจุดเสี่ยง (จุดเสี่ยงภายนอกคือพื้นผิวสัมผัสต่างๆ จุดเสี่ยงภายในคือ ใบหน้าเราเอง)

6.รักษา/เว้นระยะห่างทางสังคม” ให้ปลอดภัย (Social safety ด้วยหลัก Social distancing) อันนี้ก็คือ อยู่บ้านแยกตัวเมื่อเสี่ยง อยู่ห่างคนอื่นสัก 2 เมตร เป็นต้นการลดการติดเชื้อ เป็นที่ทราบกันดีว่า คนที่สัมผัสเชื้อไวรัสทุกคน อาจไม่ได้ป่วยทุกคน ขึ้นอยู่กับปริมาณไวรัส สภาพของไวรัส และระยะภูมิไวรับของแต่ละคน โดยปัจจัยสำคัญคือ การรับมือของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทั้ง 3 ด่าน คือ ชั้นนอก (ผิวหนัง เยื่อเมือก ขนทางเดินหายใจ เมือกและสารป้องกันที่สร้างขึ้น) ชั้นกลาง (เม็ดเลือดขาวชนิดแกรนูโลไซต์ แมคโครฟาสก์ เซลล์นักฆ่า) และชั้นใน (บี กับ ที ลิมฟ์โฟไซต์) ระยะภูมิไวรับ(Susceptibility) ของแต่ละคน เกิดเมื่อมีสภาพบางอย่างไปรบกวนทำให้ภูมิคุ้มกันเราอ่อนกำลังไปชั่วขณะ เช่น ความเครียดสะสมพักผ่อนไม่เพียงพอ สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายน้อยไป และกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ (สารอาหารต่ำ สารพิษสูง อนุมูลอิสระมาก) การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย จึงเป็นการลด “ระยะภูมิไวรัส” เมื่อสัมผัสเชื้อโรคก็ติดน้อยลง หรือเมื่อติดโรค อาการป่วยก็จะไม่หนักมาก “การลดการติดเชื้อโรค” ดังกล่าวนี้ สามารถปฏิบัติได้ในช่วงที่เรา “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ด้วยวิธีง่ายๆ ที่ไม่ต้องไปคอยกักตุนอะไรๆ เลย 4 เรื่อง

(FERS) คือ Food” หรืออาหาร ดื่มน้ำให้เพียงพอ (วันละ 3 ลิตร) กินครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ ถ้าเลือกได้ให้กินผักให้ครบ 5 สี กินผักผลไม้ตามรสสมุนไพร 5 รส (ขม ฝาด เปรี้ยว เผ็ดร้อน จืด) ผลไม้ 5 อย่าง ที่มีวิตามินซีสูง ที่ไม่เปรี้ยวหรือเปรี้ยวไม่มาก (เช่น มะขามป้อม ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน มะยม ลิ้นจี่)

Exercise” หรือออกกำลัง เป็นการออกกำลังที่ใช้ออกซิเจน (aerobic exercise) โดยออกกำลังกายชนิดใดก็ได้ที่เราสะดวก โดยให้มี “ความนาน” 15-30 นาทีขึ้นไป (ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง จะล้าเกิน) และ “ความหนัก” ในช่วง 15-30 นาที (ไม่รวมวอร์มอัพ-วอร์มดาวน์)ให้หัวใจเต้น 60-80% ของ 220-อายุเรา หรือสังเกตง่ายๆ ว่า เริ่มฮัมเพลงลำบาก

Respiration” หรือการหายใจเข้าลึก-ออกลึก ช้าๆ สม่ำเสมอ หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ จะทำให้หมุนเวียนอากาศเก่าออกดีอากาศใหม่เข้าดี ได้ก๊าซออกซิเจนเพียงพอใช้ และช่วยไม่ให้เลือดเป็นกรดได้

Sleeping” หรือการนอนหลับ เป็นช่วงเวลาพักผ่อนที่ทำให้ร่างกายได้ปรับสภาพและซ่อมแซมตัวเอง การนอนหลับที่ดีต้องได้ทั้ง “ปริมาณ” และ”คุณภาพ” กล่าวคือ นอนราว 6-8 ชั่วโมง มีการหลับที่ครบวงจรทั้ง “หลับตื้น หลับลึก หลับฝัน” ควรหลับลึกติดต่อกันสัก 1-2 ชั่วโมง

เรียบเรียงข้อมูลจากthaihealth.or.th

TAGS

คลังความรู้

คำตอบ  ในทางการแพทย์ไม่มีข้อห้ามจำนวนครั้งในการกินยาคุมฉุกเฉิน แต่ปัญหาที่พบบ่อยคือ ประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉินนั้นต่ำ และผลข้างเคียงที่ตามมาหลังจากกินยา เช่นภาว…
มีสาวๆหลายคนสอบถามเข้ามาเกี่ยวกับสาเหตุที่เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ เกิดจากอะไรบ้าง รศ.ร.อ.นพ.มานพชัย ธรรมคันโธ ร.น. ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวช ม.มหิดล และ กรรม…

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า