1. นิ่ง พูดคุยน้อย เมื่อผู้สูงอายุนิ่ง ไม่ค่อยตอบสนอง ส่งผลให้ผู้ดูแลไม่ทราบว่าจะพูดอย่างไรให้ถูกใจ บางครอบครัวจึงปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง ซึ่งไม่ถูกต้อง คำแนะนำสำหรับผู้ดูแล ควรให้ความรักแก่ผู้สูงอายุ หมั่นสังเกตและใส่ใจความรู้สึก อารมณ์และความคิด พร้อมทั้งเปิดโอกาสผู้สูงอายุได้พูดในสิ่งที่ต้องการ หรือชวนพูดคุยเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจ เช่นคุยถึงเรื่องราวในอดีตที่มีความสุข โดยแนะนำให้ผู้ดูแลควรเป็นฝ่ายตั้งคำถามก่อน และไม่ควรขัดจังหวะ หรือตัดบท

2. รับประทานอาหารน้อยลง หรือแทบไม่กินเลย เมื่อผู้สูงอายุเริ่มรับประทานอาหารได้น้อยลง น้ำหนักลดลงอย่างมากโดยที่ไม่ได้ตั้งใจอดอาหาร มีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร ลูกหลานควรปรับเปลี่ยนเมนูอาหารให้น่ารับประทานขึ้น โดยเลือกเมนูอาหารอ่อนๆ ย่อยง่ายและไม่กระทบต่อโรคประจำตัวของผู้สูงอายุ
3. ไม่อยากทำอะไร เฉื่อยชา ความสนใจสิ่งต่างๆ ลดลงมาก หรือไม่อยากพูดคุยกับใคร ไม่อยากทำอะไรเกือบทุกวัน เบื่อหน่ายมาก อะไรที่เคยชอบก็ไม่อยากทำ รวมทั้งไม่สนใจที่จะดูแลตัวเอง จากที่เคยเป็นคนใส่ใจดูแลตนเองมาก แต่ตอนนี้กลับไม่สนใจการแต่งตัว ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง แม้แต่เรื่องง่ายๆ เช่น การแต่งตัว เป็นต้น หากผู้สูงอายุในบ้านมีอาการลักษณะนี้ แนะนำให้ผู้ดูแลพยายามกระตุ้นให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะกิจกรรมง่ายๆ ให้เขารู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้น อีกทั้งควรกระตุ้นให้ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพของต้นเอง เช่น การแปรงฟัน ทำความสะอาดช่องปาก พยาบามกระตุ้นให้เคลื่อนไหวร่างกายออกกำลังกายพอสมควร หรือหากมีปัญหาด้านการมองเห็น ควรพาไปพบจักษุแพทย์ตรวจวัดสายตาและใส่แว่นตา หรือรักษาเพื่อลดอุบัติเหตุจากการมองไม่เห็น
4. ชอบนอนเฉยๆ ชวนไปไหนก็ไม่ค่อยอยากไป ในกรณีผู้สูงอายุชอบเก็บตัว และแยกตัวจากผู้อื่น ลูกหลานชวนไปไหนก็ไม่อยากไป แนะนำให้ลูกหลานพยายามเข้าหา ควรหากิจกรรมทำ โดยควรเริ่มจากกิจกรรมเล็กๆ ในครอบครัว เพราะหากปล่อยทิ้งไว้เช่นนี้จะทำให้ผู้สูงอายุปลีกตัวมากขึ้น อารมณ์จะยิ่งเลวร้ายลง

5. นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไปเกือบทุกวัน ปัญหาการนอน และหากตอนกลางคืนไม่หลับ อาจชวนทำกิจกรรมเบาๆ เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือฟังธรรมมะ หากนอนไม่หลับติดต่อกัน 3-4 วันขึ้นไป ควรพบแพทย์ หรือหากผู้สูงอายุชแบนอนกลางวัน ถ้าง่วงมากให้นอนได้ระหว่าง 12:00-14:00 น. แล้วปลุก เพราะถ้านอนกลางวันมากเกินไป ตอนกลางคืนย่อมมีปัญหาการนอน
6. อารมณ์แปรปรวนหงุดหงิด ฉุนฉียว หากผู้สูงอายุมีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย หรือขี้บ่น ลูกหลานหรือผู้ดูแลไม่ควรโวยวายหรือโต้เถียง เพราะยิ่งโต้งเถียงจะยิ่งทำให้ผู้สูงอายุเกิดอารมณ์ขุ่นมัวขึ้น และตัวผู้ดูแลก็จะอารมณ์เสียตามไปด้วย สิ่งที่ควรปฏิบัติคือการ ต้องรับฟังอย่างเข้าใจ ปล่อยให้ผู้สูงอายุระบายความรู้สึกออกมาก่อน และหาวิธีเพื่อลดความหงุดหงิดนั้นๆ รวมถึงพยายามเบนความสนใจจากเรื่องที่ทำให้ผู้สูงอายุหงุดหงิด อาจจะจับมือและนวดเบาๆ ที่หลังมือของผู้สูงอายุระหว่างคุย จะช่วยลดอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวได้
7. บ่นว่าตนเองเป็นภาระของลูกหลาน รู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิดมากกว่าปกติ เป็นเกือบทุกวันเบื่อตัวเองมาก รู้สึกว่าตนไร้ค่า มีความคิดอยากตายหรืออยากทำร้ายตัวเอง เมื่อผู้สูงอายุมีอาการเหล่านี้ ผู้ดูแลควรสังเกตความผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งอาจบ่งบอกว่ามีความคิดที่จะทำร้ายตนเอง และเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดพยายามไม่ให้คลาดสายตา และพยายามหาคุณค่าในตัวผู้สูงอายุและบอกให้ผู้สูงอายุรับทราบ รับฟังปัญหาโดยต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ตำหนิความคิดของผู้ป่วย อีกทั้งต้องไม่พูดว่าเรื่องของผู้ป่วยเป็นเรื่องเล็กน้อยหรือรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อช่วยกันวางแผนการดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกต้องเหมาะสม

ทำความเข้าใจ ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (Late-life depression) พบได้ในผู้สูงอายุแบ่งเป็น 2 แบบ คืออาการซึมเศร้าที่เป็นมาก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ และที่เกิดในช่วงที่เข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงวัยพบมากถึง 10-20% ของประชากร และส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้ที่หย่าร้าง อยู่ตัวคนเดียว หรือสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก หรือป่วยเป็นโรคเรื้อรังซึ่งรักษาไม่หายขาด อาทิ โรคมะเร็ง กระทั่งการอยู่ในสภาพแวดล้อมของครอบครัวที่ไม่สามารถระบายความในใจกับใครได้ จะมีความเสี่ยงกับภาวะนี้มากขึ้น
แนวทางการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า
เนื่องจากสาเหตุการเกิดภาวะซึมเศร้านั้นเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งการทำางานของสมองเกิดสารสื่อประสาทไม่สมดุล การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและจิตใจ สังคม สภาพแวดล้อม ประสบการณ์การสูญเสีย ดังนั้นจำเป็นต้องบูรณาการการรักษาควบคู่กันหลายด้าน
ปรึกษาพูดคุยกับ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบ้านหอมลำดวน ซอยวิภาวดีรังสิต 44 กทม. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณกรณ์รวี แสนดวง เบอร์โทรศัพท์ 091-3331-909 Facebook บ้านหอมลำดวน