Modal Title

สิทธิควรรู้ “สมรสเท่าเทียม”
- 19 มิถุนายน 2024
- | อินโฟกราฟิกส์
สิทธิควรรู้ “สมรสเท่าเทียม” 

.
ร่าง พ.ร.บ. #สมรสเท่าเทียม ผ่าน สว แล้ว โดยจะบังคับใช้ 120 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา
.
“สมรสเท่าเทียม” มีอะไรบ้าง









.
คู่รักหลากหลายทางเพศ จะได้สิทธิอะไรจากกฎหมายนี้บ้าง ?
1.
สิทธิการได้ดูแลชีวิตของคู่รักของตน

คู่รักสามารถจัดการสิ่งต่าง ๆ ให้ได้ อาทิ การดูแลตัดสินใจเรื่องทางการแพทย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเบิกรักษาพยาบาล การตัดสินใจสำคัญทางการแพทย์ในกรณีที่คน ๆ นั้นไม่สามารถตัดสินใจด้วยตัวเองได้ หรือกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต อีกฝ่ายก็จะมีสิทธิในการจัดการศพได้ด้วยนั่นเอง
2.
สิทธิในการแต่งงาน

ในอนาคตสามารถจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยได้ รวมถึงมีกฎหมายรองรับพิธีกรรมอื่น ๆ เช่น สิทธิการหมั้น การจดทะเบียนสมรส รวมถึงการจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส รวมไปถึงการเป็นตัวแทนทางกฎหมาย สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม และสิทธิได้รับประโยชน์จากสวัสดิการจากรัฐ (อาทิ สวัสดิการข้าราชการ รับประโยชน์ทแทนตามสิทธิประกันสังคม) นอกจากนี้ยังได้สิทธิในการขอสัญชาติอีกด้วย
3.
สิทธิการเป็นพ่อแม่ของลูก (ตามกฎหมาย)

พรบ.สมรสเท่าเทียม คู่รัก LGBTQIA+ สามารถเป็นผู้ปกครองของบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ ทั้งนี้ ผู้รับบุตรบุญธรรมยังคงจะต้องมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
4.
สิทธิในการหย่าร้าง

สิทธิในการแต่งงานที่เท่าเทียม นำมาซึ่งสิทธิที่เท่าเทียมกันหากคู่รักใช้ชีวิตมาจนจุดแยกจากกันด้วย โดยจะมีสิทธิในการฟ้องหย่า สิทธิในการฟ้องร้องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น สิทธิการเลี้ยงดูบุตร การเรียกค่าเลี้ยงชีพตามแต่กรณีการหย่าร้างที่เกิดขึ้น และสิทธิในสินสมรส
.
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศทไทยฯ
ขอร่วมแสดงความยินดี ร่าง พ.ร.บ. #สมรสเท่าเทียม
เพราะเราเชื่อว่าทุกคน ควรได้รับความเท่าเทียมและการเคารพต่อกันและกัน
สิทธิควรรู้ "สมรสเท่าเทียม"
อินโฟกราฟิกส์
Modal Title

สิทธิควรรู้ “สมรสเท่าเทียม”
- 19 มิถุนายน 2024
- | อินโฟกราฟิกส์
สิทธิควรรู้ “สมรสเท่าเทียม” 

.
ร่าง พ.ร.บ. #สมรสเท่าเทียม ผ่าน สว แล้ว โดยจะบังคับใช้ 120 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา
.
“สมรสเท่าเทียม” มีอะไรบ้าง









.
คู่รักหลากหลายทางเพศ จะได้สิทธิอะไรจากกฎหมายนี้บ้าง ?
1.
สิทธิการได้ดูแลชีวิตของคู่รักของตน

คู่รักสามารถจัดการสิ่งต่าง ๆ ให้ได้ อาทิ การดูแลตัดสินใจเรื่องทางการแพทย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเบิกรักษาพยาบาล การตัดสินใจสำคัญทางการแพทย์ในกรณีที่คน ๆ นั้นไม่สามารถตัดสินใจด้วยตัวเองได้ หรือกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต อีกฝ่ายก็จะมีสิทธิในการจัดการศพได้ด้วยนั่นเอง
2.
สิทธิในการแต่งงาน

ในอนาคตสามารถจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยได้ รวมถึงมีกฎหมายรองรับพิธีกรรมอื่น ๆ เช่น สิทธิการหมั้น การจดทะเบียนสมรส รวมถึงการจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส รวมไปถึงการเป็นตัวแทนทางกฎหมาย สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม และสิทธิได้รับประโยชน์จากสวัสดิการจากรัฐ (อาทิ สวัสดิการข้าราชการ รับประโยชน์ทแทนตามสิทธิประกันสังคม) นอกจากนี้ยังได้สิทธิในการขอสัญชาติอีกด้วย
3.
สิทธิการเป็นพ่อแม่ของลูก (ตามกฎหมาย)

พรบ.สมรสเท่าเทียม คู่รัก LGBTQIA+ สามารถเป็นผู้ปกครองของบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ ทั้งนี้ ผู้รับบุตรบุญธรรมยังคงจะต้องมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
4.
สิทธิในการหย่าร้าง

สิทธิในการแต่งงานที่เท่าเทียม นำมาซึ่งสิทธิที่เท่าเทียมกันหากคู่รักใช้ชีวิตมาจนจุดแยกจากกันด้วย โดยจะมีสิทธิในการฟ้องหย่า สิทธิในการฟ้องร้องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น สิทธิการเลี้ยงดูบุตร การเรียกค่าเลี้ยงชีพตามแต่กรณีการหย่าร้างที่เกิดขึ้น และสิทธิในสินสมรส
.
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศทไทยฯ
ขอร่วมแสดงความยินดี ร่าง พ.ร.บ. #สมรสเท่าเทียม
เพราะเราเชื่อว่าทุกคน ควรได้รับความเท่าเทียมและการเคารพต่อกันและกัน
สิทธิควรรู้ "สมรสเท่าเทียม"