fbpx

“ลูกเสือทักษะชีวิต” ปรับปรุงหลักสูตรลูกเสือให้ทันสมัย แก้ไขปัญหาเด็กแข่งวิชาการจนไม่มีทักษะการใช้ชีวิต ตอบโจทย์ปฏิรูปการศึกษาไทย

SC001

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการลูกเสือเสริมสร้างทักษะชีวิต เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต ให้เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาด้วยกระบวนการลูกเสือ โดยให้เด็กและเยาวชนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองในการทำกิจกรรมอย่างครบวงจร ณ อาคารสมเด็จอุปถัมภ์ สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ

นางสาวลัดดา จิตรวัฒนแพทย์ ผู้จัดการโครงการลูกเสือเสริมสร้างทักษะชีวิต กล่าวว่า โครงการฯ มุ่งมั่นที่จะทำให้กิจกรรมลูกเสือเสริมสร้างทักษะชีวิตเป็นประโยชน์สูงสุดแก่เด็กและเยาวชนแท้จริง รวมทั้งมีความยั่งยืนในระบบการศึกษา โดยได้พัฒนาครูผู้สอนและวิทยากรของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งขยายผลไปสู่เด็กและเยาวชนในโรงเรียน จำนวน 2,105,063 คน ควบคู่กับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการลูกเสือของโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้วยกระบวนการเทียบระดับ (Benchmarking)

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนดังกล่าวมุ่งหวังให้เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนาทักษะชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงส่งเสริมกิจการลูกเสือของประเทศไทย ซึ่งจะครบรอบ 107 ปี ในปี 2561 ให้สามารถพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีทักษะชีวิตเพิ่มขึ้น เพื่อให้อยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างเป็นปกติสุข ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา มีมติให้ประกาศใช้หลักสูตรลูกเสือเสริมสร้างทักษะชีวิตอย่างเป็นทางการในโรงเรียนทั่วประเทศ

ศ.กิตติคุณ นพ.ดำรง เหรียญประยูร กรรมการที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า จากผลการวิจัยของศูนย์นวัตกรรมการศึกษาและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2560 ระบุว่า เด็กและเยาวชนไทยเผชิญปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบทางสังคม 10 เรื่อง ได้แก่ ความรุนแรง คุณแม่วัยใส ยาเสพติด ติดแท็บเล็ตอยู่กับสังคมก้มหน้า ขาดวินัยอย่างรุนแรง ชีวิตไม่มีความสุข เครียดกดดัน ร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์รอบสถานศึกษา เด็กยากจนด้อยโอกาส กลุ่มชาติพันธุ์ การตกเป็นเครื่องมือทางเพศ การใช้แรงงานเด็ก ขอทานเด็ก และเด็กไทยเกิดน้อยด้อยคุณภาพ ส่วนสถานการณ์เชิงบวก คือ เด็กและเยาวชนได้เห็นแบบอย่างที่ดี โดยเฉพาะพระจริยวัตรและพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9

“จากข้อมูลดังกล่าวยิ่งสะท้อนว่าถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนควรมีบทบาทในการเสริมสร้างสถานการณ์ทางบวกและลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เด็กและเยาวชนได้เติบโตอย่างมีคุณภาพ มีทักษะสังคม ทักษะชีวิตที่พร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบตัว ซึ่งสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ เป็นอีกองค์กรสาธารณประโยชน์ที่พัฒนาเด็กและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะการนำกระบวนการลูกเสือมาช่วยเสริมสร้างทักษะชีวิตถือเป็นวิธีการที่แยบยลที่ทำให้เด็กและเยาวชนได้รับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมผ่านกิจกรรมลูกเสือได้แท้จริง” ศ.กิตติคุณ นพ.ดำรง กล่าว

ด้าน นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ลูกเสือทักษะชีวิตไม่ใช่เพียงการตอบโจทย์แค่เรื่องทักษะในศตวรรษที่ 21 แต่จะตอบโจทย์ปฏิรูปการศึกษา โดยมีการสำรวจข้อมูลถึงคุณลักษณะของเด็กไทยที่ต้องการ พบว่า 80-90% ของประชาชนไทยเห็นด้วยว่าเด็กไทยต้องมีทักษะชีวิต ประกอบด้วยบันได 4 ขั้นคือ ขั้นแรก รู้จักตนเอง ขั้นที่สอง อยากเรียนรู้สิ่งต่างๆ ไม่ใช่เพียงแค่จำแต่ต้องเรียนรู้ ขั้นที่สาม สามารถทำงานเป็นทีมได้ และขั้นสุดท้าย ความเป็นพลเมือง มีจิตอาสาและเกื้อกูลต่อสังคม ถือเป็นความต้องการในด้านการศึกษาของทุกภาคส่วน ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องถามตนเองได้ว่าสามารถผลิตได้แบบนี้หรือไม่

ติดตามข่าวสารได้ที่ facebook/สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ

และ facebook/ลูกเสือเสริมสร้างทักษะชีวิต Life Skills Scout

TAGS

News & Activity

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา วิทยากรจากคลินิกเวชกรรม สวท ขอนแก่น ลงพื้นที่ให้ความรู้เรื่องการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ให้กับสตรีผู้เข้ารับการอบรม ณ ราชาวดี รีสอร์ท จ.ขอนแก่น ซึ่งจัดโดย มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์ (เอดส์เน็ท) ภายใต้โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการบริการให้คำปรึกษาแนะนำการป้องกันและการจัดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ การวางแผนครอบครัว อนามัยการเจริญพันธุ์ในสถานประกอบการพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ขอบคุณภาพจากAidsnet NE…
เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา (24 ก.ย.) คุณสมเจตน์ ศรีกนก ผอ.สวท เป็นประธานเปิดการอบรมทบทวนความรู้เรื่องมาตรฐานคุณภาพของการให้บริการ Quality of Care (QoC) และการพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสารในงานสาธารณสุข ให้แก่พยาบาลและเจ้าหน้าที่คลินิกเวชกรรม สวท ทั้ง 10 แห่ง ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสำคัญของ สวท ในการพัฒนางานด้านบริการของคลินิกเวชกรรม สวท ให้เป็นมิตร ปลอดภัย แก่ผู้มารับบริการ ปล. วันที่ 24-26 กันยายนนี้ คลินิกเวชกรรม สวท ทั้ง 10 แห่งปิดให้บริการเปิดบริการตามปกติ วันจันทร์ที่ 28 กันยายน 2563…
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save