fbpx

พม.และ สวท ผนึกกำลังรณรงค์วางแผนครอบครัวพัฒนาประชากรทุกช่วงวัย

PPAT Seminar017

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และ สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สวท) จัดงานเสวนาวิชาการเรื่อง “การวางแผนครอบครัวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรทุกช่วงวัย” รณรงค์ให้ประชากรทุกช่วงวัยตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนครอบครัวอันจะนำไปสู่การมีชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์มีคุณภาพ ตั้งเป้าช่วยส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพ โดยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานเปิดการเสวนา พร้อมมอบโล่ประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์และอาสาสมัครดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2566 และ รศ.ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย นายกสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ กล่าวรายงาน โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคมทั้งจากในและต่างประเทศเข้าร่วมงาน อาทิ ผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวง พม.  IPPF ESEAOR   APA   UNFPAประจำประเทศไทย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  มูลนิธิรักษ์ไทย มูลนิธิเอดส์ เฮลท์ แคร์ (AHF) ประเทศไทย มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING)  สมาคมพัฒนาประชากร  สมาคมพัฒนาอนามัยแห่งประเทศไทย สมาคมแนวร่วมธุรกิจไทยต้านภัยเอดส์ สมาคมประสานงานองค์กรเอกชนเพื่อการสาธารณสุข (ประเทศไทย) ณ ห้องประชุมประชาบดี ชั้น 19A กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ในปัจจุบันประเทศไทยเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลายมิติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางประชากรเป็นมิติหนึ่งที่มีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ ประชากรไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง อัตราการเกิดอยู่ในระดับต่ำมากจนจำนวนประชากรในวัยเด็กและวัยทำงานลดลงมาก ทั้งนี้ กระทรวง พม. มีพันธกิจในการเสริมสร้างศักยภาพคนและสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อ “ครอบครัวไทย” คือ ครอบครัวไทยซึ่งเป็นหลักในการสร้างและพัฒนาคนกำลังเลือนหาย ครัวเรือนที่อยู่คนเดียวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 16.4 ในปี 2558 เป็นร้อยละ 21.4 ในปี 2565 ยิ่งไปกว่านั้นเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของเด็กไทย (อายุ 0 – 17 ปี) อยู่ในครอบครัวที่พร้อมหน้าทั้งพ่อและแม่ ส่วนที่เหลือไม่ได้อยู่กับทั้งพ่อและแม่ หรืออยู่กับครอบครัวที่มีลักษณะเป็นแม่หรือพ่อเลี้ยงเดี่ยว นอกจากนี้ ครัวเรือนที่ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังคนเดียวหรืออยู่กับคู่สมรสตามลำพังเพิ่มขึ้น เป็น 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุทั้งหมด และการอยู่กับบุตรซึ่งเคยเป็นรูปแบบการอยู่อาศัยหลักลดลงเหลือเพียงประมาณ ร้อยละ 50 สะท้อนให้เห็นว่าผู้สูงอายุรุ่นหลังมีลูกน้อยลง เป็นโสดหรือหย่าร้างเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีลูกแต่ต้องไปทำงานต่างถิ่น

นายวราวุธ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ กระทรวง พม. ได้ตระหนักถึงวิกฤตการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว และได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายวิกฤตประชากร หรือ “นโยบาย 5×5 ฝ่าวิกฤตประชากร” จากการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ เมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วย 5 ข้อเสนอ ได้แก่ 1) เสริมพลังวัยทำงาน 2) เพิ่มคุณภาพและผลิตภาพของเด็กและเยาวชน 3) สร้างพลังผู้สูงอายุ 4) เพิ่มโอกาสและสร้างเสริมคุณค่าของคนพิการ และ 5) สร้างระบบนิเวศ (Eco-system) ที่เหมาะสม และแต่ละข้อเสนอประกอบด้วย 5 มาตรการสำคัญเร่งด่วน รวมทั้งสิ้น 25 มาตรการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 รับทราบข้อเสนอเชิงนโยบายวิกฤตประชากรและสังคมสูงวัย ตามที่กระทรวง พม. เสนอ พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนเชิงนโยบายต่อไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ไปสู่การดำเนินงานแบบองค์รวมเพื่อให้ทุกองคาพยพในสังคมมีส่วนร่วม และตระหนักถึงปัญหาวิกฤตประชากรร่วมกัน ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ การจัดงานในวันนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมกันในฐานะหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกระทรวง พม. และสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ในการแก้ไขวิกฤตประชากรของประเทศไทยตั้งแต่ในระดับครอบครัว ที่จะนำมาสู่ความยั่งยืนของสังคม ชุมชน และประเทศชาติต่อไป

ด้าน รศ.ดร.ฤาเดช เกิดวิชัย นายกสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย  ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กล่าวว่า  การทำงานของสมาคมฯ ตลอดระยะเวลากว่า 54 ปี ได้มีการปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมอยู่ตลอดเวลา การวางแผนครอบครัวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรทุกช่วงวัย ยังคงมีความสำคัญในทุกยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นการเกิดมากในอดีต หรือเกิดน้อยในยุคปัจจุบัน สมาคมฯ ซึ่งถือเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตมีเป้าหมายสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการทำงานของภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในมิติด้านสิทธิทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะการวางแผนครอบครัว ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของประชากรไทย  โดยการจัดงานในวันนี้จะช่วยให้ได้องค์ความรู้ในเรื่อง การวางแผนครอบครัวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรทุกช่วงวัย เพื่อใช้ในการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และใช้ขับเคลื่อนงานสมาคมฯ ในระดับพื้นที่

“การร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในวันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนางานด้านประชากรร่วมกันในอนาคต ซึ่ง พม. มีการทำงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรทั้งเชิงรับและรุกอย่างเข้มแข็ง สมาคมฯ มีนโยบายที่สำคัญในการส่งเสริมให้ทุกการเกิดเป็นการเกิดที่มีคุณภาพและเติบโตเป็นประชากรที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องอาศัยกลไกขับเคลื่อนของภาครัฐและภาคีเครือข่ายเป็นส่วนหนุนเสริมทำงานร่วมกัน การทำงานจึงจะสำเร็จตามเป้าหมาย”นายกสมาคมฯกล่าว

สำหรับการจัดกิจกรรมงานเสวนาวิชาการเรื่อง “การวางแผนครอบครัวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรทุกช่วงวัยในวันนี้ ซึ่งเกิดจากการความร่วมมือของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ได้รับความร่วมมือที่ดีจากผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพประชากร ร่วมเสวนา ประกอบด้วย

1. นายอนุกูล  ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

2. ดร.นายแพทย์บุญฤทธิ์ สุขรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข  

3. ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน นักวิชาการอิสระ อดีตคณาจารย์ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

4. ศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ  คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางการทำงานที่ประสบความสำเร็จ จากหน่วยงานภายในของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมแลกเปลี่ยน

ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ ของสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ประจำปี พ.ศ.2566

1.แพทย์หญิงนันทา อ่วมกุล  วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.ศ.กิตติคุณ นพ.สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล นายกสภาสถาบันพระบรมราชชนก

3. ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล ปรึกษาอาวุโส สถาบันวิจัยประชากรและสังคม  มหาวิทยาลัยมหิดล

อาสาสมัครดีเด่นประจำปี 2566 สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ  จำนวน 5 ท่าน

1.นายกิรกฤษ  เยี่ยมจะบก  อาสาสมัครดีเด่น ด้านการสื่อสารเผยแพร่สิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ 

 2.นางเจะเซาดะห์  นามสกุล  บาราเฮ็ง อาสาสมัครดีเด่น ด้านการส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์สำหรับทุกเพศทุกวัย

3.นางนิติรัตน์  พูลสวัสดิ์ อาสาสมัครดีเด่นด้านการส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของผู้ทำการ

4. นางสาวพวงวรินทร์   แก้วคำมูล  อาสาสมัครดีเด่น ด้านการส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์อย่างเท่าเทียมโดยเฉพาะผู้อยู่ในพื้นที่ห่างไกล

5.นางโสภิษตา  ตันธนาธิป   อาสาสมัครดีเด่น ด้านการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์

TAGS

News & Activity

PPAT collaborated with Bayer Thailand to conduct an activity on “How to Prevent Unplanned Pregnancy in Education Institute?”, on 8 June 2022, under the project “SRHR Accessibility Promotion” at Wimon Business Administration Technological College, led by Mr. Panatphong Noradee, Manager of Information Education and Motivation Department and team. Thank you, Major Cineplex, for prize sponsorship….
ระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคมที่ผ่านมาดร.นันทกาญจน์ สูงสุมาลย์ วูดแฮม ผู้อำนวยการสมาคมฯ ให้การต้อนรับและร่วมประชุมเชิงปฏิการด้านการติดตามและประเมินผลงานสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ กับ Dr.Rajrattan Lokhande, Senior Monitoring & Evaluation Advisor, Humanitarian Programme และ Mr. Kumar Das, Senior Advisor – Performance, Learning and Impact จาก สหพันธ์วางแผนครอบครัวระหว่างประเทศ หรือ IPPF โดยมีคุุณศนีกานต์ รศมนตรี ผู้จัดการวิจัยและพัฒนาโครงการ คุณปดิวรัดา เดิมสันเที๊ยะ ผู้จัดการแผนงานและประเมินผล คุณ อรวรรณ เกิดจันทร์ เจ้าหน้าที่แผนงานและประเมินผล คุณลักษิกา เงาะเศษ เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนาโครงการ และ คุณชนิตสิรี พุ่มทอง เจ้าหน้าที่นักวิชาการ เข้าร่วมประชุม โดยสาระสำคัญการประชุมในครั้งนี้ มุ่งเน้นความรู้ในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และสถานการณ์ปกติ เพื่อส่งเสริมระบบงานของ สวท ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นต่อไป นอกจากนี้ผู้แทนจาก IPPF ได้เข้าเยี่ยมชมคลินิกเวชกรรม สวท บางเขน และส่วนงานต่างๆของ สวท…
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save