fbpx

“ลูกเสือทักษะชีวิต” ปรับปรุงหลักสูตรลูกเสือให้ทันสมัย แก้ไขปัญหาเด็กแข่งวิชาการจนไม่มีทักษะการใช้ชีวิต ตอบโจทย์ปฏิรูปการศึกษาไทย

SC001

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการลูกเสือเสริมสร้างทักษะชีวิต เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต ให้เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาด้วยกระบวนการลูกเสือ โดยให้เด็กและเยาวชนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองในการทำกิจกรรมอย่างครบวงจร ณ อาคารสมเด็จอุปถัมภ์ สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ

นางสาวลัดดา จิตรวัฒนแพทย์ ผู้จัดการโครงการลูกเสือเสริมสร้างทักษะชีวิต กล่าวว่า โครงการฯ มุ่งมั่นที่จะทำให้กิจกรรมลูกเสือเสริมสร้างทักษะชีวิตเป็นประโยชน์สูงสุดแก่เด็กและเยาวชนแท้จริง รวมทั้งมีความยั่งยืนในระบบการศึกษา โดยได้พัฒนาครูผู้สอนและวิทยากรของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งขยายผลไปสู่เด็กและเยาวชนในโรงเรียน จำนวน 2,105,063 คน ควบคู่กับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการลูกเสือของโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้วยกระบวนการเทียบระดับ (Benchmarking)

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนดังกล่าวมุ่งหวังให้เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนาทักษะชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงส่งเสริมกิจการลูกเสือของประเทศไทย ซึ่งจะครบรอบ 107 ปี ในปี 2561 ให้สามารถพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีทักษะชีวิตเพิ่มขึ้น เพื่อให้อยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างเป็นปกติสุข ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา มีมติให้ประกาศใช้หลักสูตรลูกเสือเสริมสร้างทักษะชีวิตอย่างเป็นทางการในโรงเรียนทั่วประเทศ

ศ.กิตติคุณ นพ.ดำรง เหรียญประยูร กรรมการที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า จากผลการวิจัยของศูนย์นวัตกรรมการศึกษาและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2560 ระบุว่า เด็กและเยาวชนไทยเผชิญปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบทางสังคม 10 เรื่อง ได้แก่ ความรุนแรง คุณแม่วัยใส ยาเสพติด ติดแท็บเล็ตอยู่กับสังคมก้มหน้า ขาดวินัยอย่างรุนแรง ชีวิตไม่มีความสุข เครียดกดดัน ร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์รอบสถานศึกษา เด็กยากจนด้อยโอกาส กลุ่มชาติพันธุ์ การตกเป็นเครื่องมือทางเพศ การใช้แรงงานเด็ก ขอทานเด็ก และเด็กไทยเกิดน้อยด้อยคุณภาพ ส่วนสถานการณ์เชิงบวก คือ เด็กและเยาวชนได้เห็นแบบอย่างที่ดี โดยเฉพาะพระจริยวัตรและพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9

“จากข้อมูลดังกล่าวยิ่งสะท้อนว่าถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนควรมีบทบาทในการเสริมสร้างสถานการณ์ทางบวกและลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เด็กและเยาวชนได้เติบโตอย่างมีคุณภาพ มีทักษะสังคม ทักษะชีวิตที่พร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบตัว ซึ่งสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ เป็นอีกองค์กรสาธารณประโยชน์ที่พัฒนาเด็กและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะการนำกระบวนการลูกเสือมาช่วยเสริมสร้างทักษะชีวิตถือเป็นวิธีการที่แยบยลที่ทำให้เด็กและเยาวชนได้รับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมผ่านกิจกรรมลูกเสือได้แท้จริง” ศ.กิตติคุณ นพ.ดำรง กล่าว

ด้าน นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ลูกเสือทักษะชีวิตไม่ใช่เพียงการตอบโจทย์แค่เรื่องทักษะในศตวรรษที่ 21 แต่จะตอบโจทย์ปฏิรูปการศึกษา โดยมีการสำรวจข้อมูลถึงคุณลักษณะของเด็กไทยที่ต้องการ พบว่า 80-90% ของประชาชนไทยเห็นด้วยว่าเด็กไทยต้องมีทักษะชีวิต ประกอบด้วยบันได 4 ขั้นคือ ขั้นแรก รู้จักตนเอง ขั้นที่สอง อยากเรียนรู้สิ่งต่างๆ ไม่ใช่เพียงแค่จำแต่ต้องเรียนรู้ ขั้นที่สาม สามารถทำงานเป็นทีมได้ และขั้นสุดท้าย ความเป็นพลเมือง มีจิตอาสาและเกื้อกูลต่อสังคม ถือเป็นความต้องการในด้านการศึกษาของทุกภาคส่วน ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องถามตนเองได้ว่าสามารถผลิตได้แบบนี้หรือไม่

ติดตามข่าวสารได้ที่ facebook/สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ

และ facebook/ลูกเสือเสริมสร้างทักษะชีวิต Life Skills Scout

TAGS

News & Activity

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา คณะทำงานโครงการจากคลินิกเวชกรรม สวท เชียงราย นำโดยคุณกรณ์รวี แสนดวง ผู้จัดการโครงการ สวท พร้อมด้วยคุณพงศกร เสาร์เขียว เจ้าหน้าที่โครงการ และคณะทำงาน ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านประชากรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุดินโคลนถล่มในพื้นที่บ้านป่ายาง ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เพื่อให้กำลังใจและส่งมอบการช่วยเหลือในเบื้องต้น พร้อมกับประสานงานการลงพื้นที่กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่ายาง เพื่อออกหน่วยให้บริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ แก่ประชากรในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา และชาติพันธุ์ ภายใต้โครงการตอบสนองความต้องการสุขภาพทางเพศ และอนามัยการเจริญพันธุ์ที่สำคัญของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและดินถล่มในภาคเหนือของประเทศไทย (Meeting the essential SRH needs of communities affected by floods and landslides in Northern Thailand) ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สหพันธ์วางแผนครอบครัวระหว่างประเทศ หรือ IPPF ซึ่งประชากรที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ยังคงต้องพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย จนกว่าบ้านเรือนจะได้รับการซ่อมแซมและสร้างใหม่แล้วเสร็จ…
PPAT collaborated with Bayer Thailand to conduct an activity on “How to Prevent Unplanned Pregnancy in Education Institute?”, on 8 June 2022, under the project “SRHR Accessibility Promotion” at Wimon Business Administration Technological College, led by Mr. Panatphong Noradee, Manager of Information Education and Motivation Department and team. Thank you, Major Cineplex, for prize sponsorship….
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save