fbpx

สวท จัดงานวันคุมกำเนิดโลกคุมกำเนิดไทย2017

WCD002

เมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา  สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และบริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ร่วมกันจัดงานวันคุมกำเนิดโลก(WORLD CONTRACEPTION DAY 2017) ภายใต้หัวข้อ “คุมกำเนิดไทยในยุค 4.0” ซึ่งได้รับเกียรติจาก นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ศ.นพ.สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล นายกสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯและพญ.ปานียา สูตะบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ร่วมกันให้ความรู้และแถลงจุดยืนร่วมกันที่ต้องการให้สตรีไทยได้เข้าถึงการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย

นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สภาพเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สถานการณ์การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนเพิ่มสูงขึ้น ในปี 2559 พบผู้หญิงอายุ 10-19 ปี คลอดบุตรรวมทั้งสิ้น 94,584 คน หรือเฉลี่ย 252 คนต่อวัน และพบการคลอดซ้ำในเยาวชนกลุ่มนี้ 11,225 คน หรือคิดเป็นสัดส่วน 11.9% ขณะที่เด็กหญิงวัย 10-14 ปี คลอดบุตรในปีที่ผ่านมา 2,746 คน หรือประมาณวันละ 8 คน

ปัญหา การคลอดซ้ำ ในเยาวชน ถือเป็น เรื่องน่าเป็นห่วง ทั้งนี้ ปัจจุบัน .ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น  พ.ศ.2559 เริ่มบังคับใช้เมื่อ 29 กรกฎาคม 2559 กำหนดให้โรงพยาบาล หรือ สถานบริการ ต้องช่วยเหลือให้คำปรึกษาปัญหาการตั้งครรภ์ กับวัยรุ่นอายุ 10-20 ปี และวัยรุ่นสามารถขอรับบริการ คุมกำเนิด โดยการใช้ยาฝังคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวรโดยฝังไว้ใต้ผิวหนัง ท้องแขน มีทั้งแบบชนิด 3 ปี และ 5 ปี ได้ฟรี

“การแก้ปัญหาตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นนโยบายสำคัญของภาครัฐที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ สร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะ ลดผลกระทบจากกรณีการเสียชีวิตของแม่และทารก เด็กแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และเสี่ยงต่อการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย นำไปสู่ปัญหาสังคม อาทิ เด็กถูกทอดทิ้งให้เติบโตอย่างไม่มีคุณภาพ ขาดโอกาสทางการศึกษา ฯลฯ” นพ.กิตติพงศ์กล่าว

.นพ.สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล นายกสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กล่าวว่า ประเทศไทย กำลังก้าวสู่ยุค 4.0 ดังนั้นคนรุ่นใหม่ จึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการวางแผนครอบครัวมากขึ้น การตั้งครรภ์ ในขณะที่อายุยังน้อย และไม่พร้อม ส่งผลกระทบในทางลบต่อทั้งตัวเอง เศรษฐกิจและสังคมในส่วนของสมาคมฯ เอง มีนโยบายที่สอดคล้องกับ แนวนโยบายหลัก ของ สหพันธ์วางแผนครอบครัวระหว่างประเทศ (IPPF) โดยมุ่งเน้น ให้ก้าวหน้าไปพร้อมกับโลก โดยจะสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยี และโซเชียลมีเดีย เพื่อสื่อสารกับประชากรกลุ่มเป้าหมาย และรองรับกับการที่ไทยก้าวสู่ ประเทศ 4.0

ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของวันคุมกำเนิดโลก ทางเวปไซด์ www.your-life.com ได้เผยแพร่รายงาน “วัยรุ่นกับการคุมกำเนิด” ระบุว่าแต่ละปีมีผู้หญิงตั้งครรภ์ 208 ล้านคน โดย 41% เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์และเกือบครึ่งหนึ่งได้ตัดสินใจทำแท้งทั้งนี้ www.your-life.com ได้ สำรวจทัศนคติวัยรุ่น 3,013 คน อายุระหว่าง 13-25 ปี ใน 15 ประเทศ เกี่ยวกับการคุมกำเนิด พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่ทราบความสำคัญของการคุมกำเนิด แต่ 64.5% เคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกัน และ 90.3% อยากให้คนทั่วไปพูดถึงเรื่องการคุมกำเนิดเป็นเรื่องปกติ จากปัจจุบันที่การคุมกำเนิดเป็นหัวข้อต้องห้ามในการพูดถึง

“ทุกฝ่ายจำเป็นต้องรณรงค์ให้ความรู้เรื่องการคุมกำเนิดต่อไป เพราะผลสำรวจจากทั่วโลก และในไทยพบว่า วัยรุ่น ยังได้รับความรู้เรื่องการคุมกำเนิดไม่เพียงพอ และสังคมยังมองเรื่องการคุมกำนิดเป็นหัวข้อต้องห้าม ทำให้หลายครั้ง วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ได้คุมกำเนิด และส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์”

ในส่วนของประเทศไทยนั้น www.your-life.com ได้สำรวจความคิดเห็นของวัยรุ่น อายุระหว่าง 13-25 ปี จำนวน 201 คน พบว่า วัยรุ่น 87.1% รับรู้ความสำคัญของการคุมกำเนิด แต่ 60.2% ของผู้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้คุมกำเนิด ด้วยเหตุผลต่างๆ อาทิ ไม่ต้องการทำลายความสนุก ไม่มีเครื่องมือคุมกำเนิด ลืม พร้อมที่จะเสี่ยง และไม่คิดว่าจะตั้งครรภ์

สำหรับความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิดของวัยรุ่นไทยส่วนใหญ่ ได้รับจากสถานศึกษา แต่บางส่วนมองว่าข้อมูลยังไม่เพียงพอ จึงเข้าไปศึกษาเองทางอินเตอร์เน็ต ส่วนวิธีการคุมกำเนิดที่นิยมใช้คือถุงยางอนามัย การทำหมัน ยาเม็ดคุมกำเนิด แต่ที่น่ากังวลคือ บางคนเข้าใจว่าการหลั่งข้างนอก และการนับระยะปลอดภัย (หน้า 7 หลัง 7) เป็นการคุมกำเนิดที่น่าเชื่อถือ

TAGS

News & Activity

Mr. Somjet Srikanok, PPAT Executive Director, welcomed Mr. Rishikesh Thiyagaraja and Mr. Manjula Liyanage, from IPPF SE HUB Sri Lanka, to conduct Monitoring and Evaluation of Bann Hormlamduan Kitchen implementation progress and visit Bann Hormlamduan Nursing Home as well as provide advice on business plan, marketing and social enterprise management to PPAT staff in which they also visited a clinic afterwards….
เมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา คุณปัถยา บูรณะประภา ผู้จัดการโครงการ และ คุณวรโชติ ลมุดทอง ผู้จัดการโครงการ พร้อมด้วยคณะทำงาน จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติ การพัฒนาศักยภาพการสื่อสารแก่อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการและแกนนำเยาวชน เพื่อเป็นแกนนำด้านเอดส์ในสถาบันการศึกษา รับฟังความรู้ และฝึกทักษะด้านการสื่อ สารเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่รับผิดชอบและปลอดภัย พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติการให้คำปรึกษาเบื้องต้น เพื่อให้แกนนำสามารถเข้าถึงเพื่อนกลุ่มเสี่ยง และแนะนำให้เข้า รับบริการตรวจคัดกรองหาเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางสัมพันธ์ พร้อมกับเรียนรู้การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีภายใต้โครงการส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มเยาวชนในสถานศึกษา พื้นที่จังหวัดปทุมธานี ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารสมเด็จอุปถัมภ์ สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ โดยมีสถาบันการศึกษาเครือ ข่ายเข้าร่วม 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ และมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ…
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save