fbpx

Changing Sexual Harassment against Women in Education Institutes in Bangkok Project Opening by Yes Indeed Band

DSC_4956

PPAT collaborated with Panyapiwat Institute of Management to conduct campaign activity topic “Don’t start, Don’t ignore, Don’t tolerate, It is time to end sexual harassment”, on 17 June 2022, under the project “Changing Sexual Harassment against Women in Education Institutes in Bangkok”. There were participants from Panyapiwat Institute of Management and PPAT, which are Assoc. Prof. Dr. Shayaniss Kono, Secretary-General, Mr. Wichian Neamnom, Principle of Panyapiwat Institute of Management and PPAT council member, Mr. Sooksodchuen Sooksomchitra and Ms. Dadchaneeya Ruttanasity, youth council members and Mr. Somjet Srikanok, Executive Director. The activity included creative booths from the project and performance by Yes Indeed Band.

Thank you, Major Cineplex, for prize sponsorship.

รองศาสตราจารย์ ดร.ชญานิศวร์ โคโนะ เลขาธิการสมาคมฯ  กล่าวว่า  การคุกคามทางเพศในประเทศไทยมักเป็นเรื่องที่ถูกมองข้าม จากรายงานการสำรวจการคุกคามทางเพศ ในประเทศไทยต่อนักเรียนนักศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพนั้นสูงถึงร้อยละ 74.3  โดยผู้คุกคามคือเพื่อนชายในชั้นเรียน  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการคุกคามด้วยวาจา และร้อยละ 85 ของนักศึกษาหญิงในระดับปริญญาตรีเคยมีประสบการณ์การโดนคุกคามทางเพศอย่างน้อยหนึ่งครั้ง จากสถานการณ์ดังกล่าว สมาคมฯ จึงดำเนินโครงการรณรงค์ เพื่อสร้างความตระหนัก และสนับสนุนความสำคัญของการยุติ การคุกคาม หรือล่วงละเมิดทางเพศในสถานศึกษาขึ้น เพื่อรณรงค์ให้ยุติการคุกคามทางเพศในสถานศึกษาอย่างจริงจัง ช่วยให้ผู้หญิงในสถานศึกษาได้มีพื้นที่ปลอดภัย

คุณสมเจตน์ ศรีกนก ผู้อำนวยการสมาคมฯ กล่าวว่า เราพยายามผลักดันให้สถานศึกษาทุกระดับต้องมีหลักสูตรให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้านมืดของการคุกคามทางเพศ  โดยเฉพาะการเรียนรู้เชิงกระบวนการ และมีพื้นที่รับเรื่องร้องเรียน  โดยเฉพาะกรณีครูละเมิดต่อนักเรียน กลไกดังกล่าวต้องมาพร้อมกับโรงเรียนที่เป็นมิตรปลอดภัย ปราศจากระบบอำนาจนิยม และต้องมีการลงโทษนักเรียนที่มีพฤติกรรมคุกคามทางเพศ ด้วยการปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ถูกต้อง เป็นการให้บทเรียนแทนการลงโทษแบบผลักไสไล่ส่งออกไปจากสังคม เราอยากเห็นกลไกการทำงานของสถานศึกษาจึงได้นำร่องที่วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์

ขณะที่  น.ส. วริทยา รัศมี ตัวแทน Activist จากโครงการฯ  กล่าวว่า ทุกคนทราบดีว่าการคุกคามทางเพศเป็นอาชญากรรม และเป็นปัญหาในสถานศึกษาที่ ถูกซุกอยู่ใต้พรมมานาน เพื่อนผู้ชายตีความการคุกคามทางเพศต้องเป็นเรื่องของการข่มขื่นเท่านั้น  ซึ่งจริงๆ แล้วการคุกคามทางเพศมีหลายรูปแบบ ทั้งคำพูดสองแง่สองงาม  สายตาที่จองมองสรีระของผู้หญิง หรือการถูกเนื้อต้องตัว ทุกเรื่องล้วนเป็นการทำร้ายจิตใจของเหยื่อแทบทั้งสิ้น สังคมควรตระหนักถึงเรื่องนี้มากกว่านี้ จึงเป็นที่มาของแคมเปญนี้ “อย่ายอม อย่าเริ่ม อย่าทน”

น้องเน น.ส.สุชาวดี โถน้อย ตัวแทนนักศึกษาจาก วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์  กล่าวว่า  การคุกคามทางเพศไม่ว่าจะทางไหน วิธีการอะไร มันก็คือ การกระทำที่ไม่ดีต่อกัน  ทั้งทางร่างกายและจิตใจ  ที่น่าเป็นห่วงคือ เยาวชนในทุกวันนี้ยังไม่เข้าใจว่า แบบไหนคือการคุกคามทางเพศ แบบไหนไม่ใช่  สนิทได้แต่ไม่ล้ำเส้น ซึ่งน่าเป็นห่วงมากๆ ส่วนตัวอย่างให้สถานศึกษาให้ความรู้ในประเด็นนี้ให้มากขึ้น  เพราะอย่างน้อยมันก็ยังเป็นเกราะให้เราได้ป้องกันตนเอง  หรือการมีช่องทางช่วยเหลือเมื่อเราถูกกระทำ อยากของคุณสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯที่จัดกิจกรรมดีๆแบบนี้

ขอขอบคุณบริษัท เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ จำกัด สนับสนุนของรางวัล รับชมภาพบรรยากาศได้ที่ Facebook/สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ

TAGS

News & Activity

เมื่อวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา คลินิก เวชกรรม สวท อุบลราชธานี ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายศูนย์พึ่งได้ OSCCและแนวทางการให้การปรึกษาวางแผนครอบครัว การให้ความช่วยเหลือ และระบบส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม ซึ่งจัดขึ้นโดยโรงพยาบาลน่้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีองค์กรเครือข่ายในพื้นที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ ชมภาพบรรยากาศได้ที่ facebook/สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ…
สวท สำนักงานภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ จัดอบรมให้ความรู้เรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์ แก่อาสาสมัครผู้พิการทางสายตา เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับกลุ่มผู้พิการทางสายตา ณ สมาคมคนตาบอดจังหวัดเชียงราย อนามัยการเจริญพันธุ์เป็นเรื่องที่ทุกคนควรตระหนักและเข้าถึงได้โดยง่าย ชมภาพบรรยากาศได้ที่ facebook/สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ…
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save